2566-1 นางสาวพัชราภรณ์ เรืองเพ็ง-การค้นคว้าอิสระ

14 ตัวขับเคลื่อนสำคัญที่ก่อให้เกิดการปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรมในรูปแบบของสวัสดิการ ในสังคมของ ศาสนาอิสลาม (ธวัช นุ้ยผอม และอับบาส หลับด้วง, 2562) 3) ศาสนาคริสต์ ข้อปฏิบัติของศาสนาคริสต์ สำหรับคริสตชนปฏิบัติในชีวิตประจำวันดังนี้ (1) การภาวนา (Prayer) คือ รูปแบบความผูกพันระหว่างมนุษย์กับพระเป็นเจ้าโดยมีบท ภาวนาที่คริสต์ศาสนิกชนทุกคนสามารถอธิษฐานภาวนาร่วมกันได้ เป็นบทภาวนาที่ใช้ในการอธิษฐาน สาธารณะ เพื่อแสดงความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน เป็นบทภาวนาจากคัมภีร์ไบเบิล (2) การร่วมในพิธีมิสซา (Missal) “พิธีมิสซา” คือ พิธีบูชาขอบคุณพระเป็นเจ้า เป็นการ แสดงออกซึ่งความเป็นหนึ่งเดียวกันของคริสต์ศาสนิกชน โดยมีองค์พระเยซูเจ้าเป็นเครื่องบูชาเพื่อไถ่ บาปมนุษย์อาศัยพระกายและพระโลหิตที่พระองค์ทรงยอมสละและพลีชีวิต ดังนั้น การร่วมในพิธี มิสซา จึงหมายถึง ความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันที่คริสต์ศาสนิกชนจะขอบพระคุณพระเจ้าที่ได้ทรง ประทานพระบุตรของพระองค์ลงมาไถ่บาปของมนุษย์ทุกคน (3) การพลีกรรม คือ การยอมรับความทุกข์ยากลำบาก ความเจ็บปวด หรือการสละ กิจกรรมที่นำความสุขหรือความสนุกส่วนตัว หรือกิจการที่ไม่ดี ซึ่งอาจจะเป็นการยึดติดในบาปต่าง ๆ โดยมีจุดประสงค์เพื่อจะได้ทำตัวเองให้ใกล้ชิดพระเจ้ามากยิ่งขึ้น (4) การทำบุญให้ทาน เป็นกิจการที่คริสต์ศาสนิกชนแสดงออกซึ่งความรักที่มีต่อพระเป็น เจ้า ด้วยการช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ที่พระเป็นเจ้าทรงสร้างมาตามพระฉายาลักษณ์ของพระองค์ตามคำ สอนสำคัญของคริสต์ศาสนา คือ “จงรักพระเป็นเจ้า และจงรักเพื่อนมนุษย์” (กรมการศาสนา และ อนุกรรมการส่งเสริมกิจการศาสนาและศาสนิกสัมพันธ์ คณะกรรมาธิการการศาสนา คุณธรรม จริยธรรม ศิลปะและวัฒนธรรม วุฒิสภา, 2561) “การทำบุญ” หมายถึง การกระทำกิจกรรมอันดีต่อพระเป็นเจ้าและความมีน้ำใจต่อ เพื่อนมนุษย์ โดยมีวัตถุประสงค์และความตั้งใจอันดีที่จะทำให้ผู้อื่นมีความสุข “การให้ทาน” หมายถึง การให้หรือการบริจาคทรัพย์สินหรือสิ่งของของตนเองเพื่อผู้อื่น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อการสังคมสงเคราะห์ เพื่อการทำนุบำรุงพระศาสนจักร เพื่อการช่วยเหลือผู้ที่ตก ทุกข์ได้ยาก และเพื่อการเสริมสร้างความดีของส่วนรวม (5) การแต่งกาย เป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมของคนแต่ละชาติ แต่ละท้องถิ่น โดย คริสต์ศาสนิกชนต้องปรับตนเองให้เข้ากับแต่ละวัฒนธรรม แต่งกายได้ตามจารีตประเพณีแต่ต้องสุภาพ เรียบร้อยเหมาะสมกับกาลเทศะ มีเพียงการแต่งกายในพิธีกรรมเท่านั้น ที่ยังคงรักษาเอกลักษณ์ตาม จารีตประเพณีของแต่ละนิกาย เช่น นิกายโรมันคาทอลิก นิกายกรีกออร์โธด็อกซ์ และนิกาย โปรเตสแตนต์ โดยผู้ประกอบพิธีกรรมจะมีการแต่งกายที่เฉพาะเจาะจง

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3