2566-1 นางสาวพัชราภรณ์ เรืองเพ็ง-การค้นคว้าอิสระ
15 (6) อาหารการกิน คริสต์ศาสนิกชนนิกายโรมันคาทอลิก จะอดเนื้อในวันศุกร์ทุกสัปดาห์ ตลอดทั้งปี เพราะถือว่าเป็นวันพลีกรรมทั่วไป “การอดเนื้อ” ในที่นี้หมายถึงการละเว้นจากการ รับประทานเนื้อสัตว์ 4 เท้า สัตว์ปีก เพราะถือว่าเป็นสัตว์ใหญ่ เพราะในอดีตพวกเนื้อสัตว์เหล่านี้มี ราคาแพง จุดประสงค์ของการอดเนื้อ เพื่อละเว้นจากการเสพสุขและเข้าร่วมทุกข์กับองค์พระเยซูเจ้า เป็นการอดอาหารที่อร่อยลิ้นและมีราคาแพง แต่จะกินอาหารเรียบง่ายไม่ฟุ่มเฟือย เช่น ผัก เต้าหู้ หรือ แป้งแทน (7) การทักทาย เป็นส่วนหนึ่งของคำอวยพรที่คริสต์ศาสนิกชนมีให้แก่กันในทุกวันเวลา ของชีวิตในการพบปะกัน เช่น “ขอพระเจ้าสถิตกับท่าน” “ขอพระเจ้าคุ้มครอง” “สุขสันต์วัน คริสต์มาส” “สันติสุขจงอยู่กับท่าน” เป็นต้น ซึ่งในท่ามกลางผู้มีความเชื่อเดียวกัน คริสตชนตระหนัก ดีว่า พระพรต่าง ๆ ไม่ได้มาจากตนเอง มนุษย์จึงอ้อนวอนขอพระเจ้าได้โปรดประทานพระพร เพื่อให้ ทุกสิ่งเป็นไปตามพระประสงค์ (กรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม, 2561) จากหลักศาสนาทั้งสามศาสนาดังกล่าว หลักคำสอนหรือข้อปฏิบัติเกี่ยวกับการให้นั้นมี ความแตกต่างกัน กล่าวคือ ในศาสนาพุทธ การให้ไม่ได้อยู่ในหลักการปฏิบัติพื้นฐานของศีล 5 แต่เป็น ความสมัครใจหรือเต็มใจของพุทธศาสนิกชนที่มีเป้าประสงค์ปรารถนาเข้าถึงความสุข โดยความสุขนั้น เริ่มต้นจากการให้ การบริจาค การสละของของตนเพื่อบุคคลอื่น หรือเพื่อประโยชน์สาธารณะ ซึ่งมี ความเชื่อว่าการให้นั้น เป็นการทำความดีเกิดผลบุญ หากทำความดีมาก ๆ ชีวิตหลังความตายจะไปสู่ โลกสวรรค์ ส่วนศาสนาอิสลามนั้น การให้เป็นหนึ่งในหลักปฏิบัติหรือหน้าที่ในศาสนาอิสลาม โดยมี สภาพบังคับ คือ มุสลิมทุกคนจะต้องยึดถือปฏิบัติ ซึ่งมีหลักเกณฑ์ให้มุสลิมที่มีทรัพย์สินถึงพิกัดของ จำนวนทรัพย์สินที่ศาสนากำหนดไว้ ต้องให้หรือบริจาคทรัพย์สินนั้นตามสัดส่วนอัตราที่ศาสนากำหนด และหากหลีกเลี่ยงหรือไม่ปฏิบัติตามจะถือว่าเป็นบาปใหญ่ ส่วนในศาสนาคริสต์นั้น การให้เป็นข้อ ปฏิบัติสำหรับคริสตชนในชีวิตประจำวัน เป็นการแสดงออกซึ่งความรักที่มีต่อพระเป็นเจ้า ด้วยการ ช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ ตามคำสอนที่ว่า “จงรักพระเป็นเจ้า และจงรักเพื่อนมนุษย์” ซึ่งมีความ คล้ายคลึงกับหลักคำสอนของศาสนาพุทธ คือ ไม่มีสภาพบังคับ ให้อิสระต่อคริสตชนที่จะให้หรือ บริจาค ตามความสามารถที่ให้หรือช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ได้ 2.4 แนวคิดการใช้อำนาจรัฐในการควบคุมการขอรับบริจาค เนื่องจากการขอรับบริจาคหรือการเรี่ยไรเป็นกิจกรรมซึ่งอาจมีผลกระทบต่อประชาชน โดยตรง ซึ่งดำเนินการมีความเสี่ยงต่อการเปิดโอกาสให้เกิดการกระทำความผิดทุจริตหรือหลอกลวง ดังนั้น รัฐจึงจำเป็นต้องมีกฎหมายใช้เป็นเครื่องมือในการช่วยลดการทุจริตและควบคุมการเรี่ยไร และ กำกับดูแลให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของผู้บริจาคเงิน ซึ่งมีลักษณะเป็นการดำเนินการทางปกครอง
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3