2566-1 นางสาวพัชราภรณ์ เรืองเพ็ง-การค้นคว้าอิสระ
16 ประเภทหนึ่ง จึงมีความจำเป็นต้องทำความเข้าใจเกี่ยวกับทฤษฎีการใช้อำนาจรัฐในการควบคุมการ เรี่ยไร ดังต่อไปนี้ ที่มาของการใช้อำนาจทางปกครอง 1) การกระทำทางปกครองที่กระทบถึงสิทธิและเสรีภาพของประชาชน จะบัญญัติใน รัฐธรรมนูญว่า ถ้าไม่มีกฎหมายให้อำนาจไว้จะกระทำมิได้ แต่แม้จะมีกฎหมายให้อำนาจรุกเข้าไปใน สิทธิของประชาชนได้ แต่ก็รุกเข้าไปได้ระดับหนึ่งเท่านั้นจะเข้าไปทำลายสิทธิเสรีภาพขั้นพื้นฐาน ทั้งหมดไม่ได้ หากกระทบถึงทรัพย์สินของประชาชน รัฐต้องชดใช้ ค่าทดแทน ซึ่งเจ้าหน้าที่ก็ต้อง กระทำการตามกฎหมาย และในคำสั่งนั้น ๆ ของฝ่ายปกครองต้องอ้างกฎหมายที่ให้อำนาจในการ กระทำนั้นด้วย 2) การกระทำที่ให้คุณประโยชน์แก่ประชาชน อาจเป็นประโยชน์ในทางทรัพย์สิน จำนวนเงิน หรืออาจเป็นสิทธิ เช่นให้ใบอนุญาต ขับขี่ ลักษณะการให้คุณประโยชน์ อาจแบ่งได้ 2 ประเภท (1) มีกฎหมายกำหนดให้อำนาจหน้าที่แก่เจ้าหน้าที่ของรัฐไว้อย่างชัดแจ้งก็จะต้องปฏิบัติตาม กฎหมายนั้น (2) ถ้าเป็นเรื่องให้คุณประโยชน์แล้วการที่ต้องมีกฎหมายให้อำนาจไว้หรือไม่นั้น ไม่ใช่ เรื่องสำคัญ ซึ่งต้องมีลักษณะยืดหยุ่นพอสมควร ถ้ารัฐต้องออกกฎหมายทุกเรื่อง แม้ในเรื่องที่เป็น คุณประโยชน์ ทุกอย่างก็คงจะล่าช้าไปหมด ฉะนั้น ถ้าไม่เป็นการกระทบสิทธิของประชาชน ในทางที่ เป็นภาระแก่เขา หรือไม่ได้ทำให้ประชาชนเสียสิทธิ แต่กลับเป็นการให้สิทธิแก่ประชาชน แม้ไม่มี กฎหมายให้อำนาจไว้ ก็ควรให้เจ้าหน้าที่กระทำการนั้นได้ ซึ่งทำให้มีความยืดหยุ่นในการปฏิบัติ ราชการ แต่ถ้ามีกฎหมายบัญญัติเอาไว้ กฎหมายต้องมาก่อน กล่าวคือ จะต้องปฏิบัติตามกฎหมายนั้น (สุวิมล กลิ่นแจ่ม, 2559) หลักการบริหารกิจการบ้านเมืองและสังคมที่ดี Good Governance หลักธรรมาภิบาล หรือ การบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี คือ แนวทาง หรือวิธีการในการบริหารจัดระเบียบเพื่อให้สังคมของประเทศทั้งภาครัฐ ภาคธุรกิจ ภาคเอกชน และ ภาคประชาชน ประกอบไปด้วยกลไก ระบบโครงสร้างของการใช้อำนาจรัฐหรือฝ่ายปกครองโดยอาศัย การมีส่วนร่วม มีความรับผิดชอบ มีกฎเกณฑ์ที่เหมาะสม เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพประสิทธิผล เกิดความเป็นธรรม โปร่งใส ตรวจสอบได้ และการพัฒนาอย่างมั่นคงและยั่งยืน (พงษ์ธร แก้วยองผาง, 2562) หลักธรรมาภิบาล (Good Governance) เป็นหลักพื้นฐานของการบริหารกิจการบ้านเมือง ที่ดี ตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการสร้างระบบบริหารกิจการบ้านเมืองและสังคมที่ดี พ.ศ. 2542 (ราชกิจจานุเบกษา, 2542) ซึ่งคุณลักษณะของการบริหารราชการที่ดี (Good Governance) หรือ “ธรรมาภิบาล” ที่เป็นหลักสากลนั้น มีหลักเกณฑ์ 6 ประการ ดังนี้
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3