2566-1 นางสาวพัชราภรณ์ เรืองเพ็ง-การค้นคว้าอิสระ

17 1) หลักนิติธรรม ได้แก่ การตรากฎหมาย กฎข้อบังคับต่าง ๆ ให้ทันสมัยและเป็นธรรม เป็นที่ยอมรับของสังคมและปฏิบัติตามกฎหมาย กฎ ข้อบังคับ โดยถือว่าเป็นการปกครองภายใต้ กฎหมายไม่ใช่อำนาจตามอำเภอใจ 2) หลักคุณธรรม ได้แก่ การยึดมั่นในความถูกต้อง โดยรณรงค์ให้เจ้าหน้าที่ของรัฐยึด หลักการปฏิบัติตามหน้าที่เป็นตัวอย่างที่ดีแก่สังคมและส่งเสริมสนับสนุนให้ประชาชนพัฒนาตนเอง เพื่อให้มีความขยัน อดทน มีระเบียบวินัย ซื่อสัตย์ จริงใจ ประกอบอาชีพสุจริต 3) หลักความโปร่งใส ได้แก่ การสร้างความไว้วางใจซึ่งกันและกันของคนในชาติ โดย ปรับปรุงกลไก การทำงานของทุกองค์กรให้มีความโปร่งใส เปิดเผยข้อมูลข่าวสารที่เป็นประโยชน์ อย่างตรงไปตรงมา ประชาชนสามารถเข้าถึงข้อมูลข่าวสารได้ง่าย สะดวกและมีกระบวนการ ตรวจสอบความถูกต้องจากประชาชน 4) หลักความมีส่วนร่วม ได้แก่ การเปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วมรับรู้ และเสนอ ความเห็นในการตัดสินใจปัญหาที่สำคัญๆ ของประเทศ 5) หลักความรับผิดชอบ ได้แก่ การตระหนักในสิทธิหน้าที่ ความรับผิดชอบต่อสังคม การใส่ใจปัญหาบ้านเมืองและมีความกระตือรือร้นในการแก้ปัญหา ตลอดจนการเคารพในความเห็นที่ แตกต่าง และความกล้าที่จะยอมรับผลจากการกระทำของตน 6) หลักความคุ้มค่า ได้แก่ การบริหารจัดการใช้ทรัพยากรให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ ส่วนรวม รณรงค์ให้ประชาชนมีความประหยัด สร้างสรรค์สินค้า และบริการที่มีคุณภาพ มีความสามารถในการแข่งขัน และรักษาทรัพยากรธรรมชาติให้ยั่งยืน ดังนั้น การควบคุมการขอรับบริจาคหรือการเรี่ยไรของรัฐ โดยมุ่งหวังจะจัดระเบียบของ คนในสังคม ขจัดปัญหาความวุ่นวายและความเดือดร้อนรำคาญ ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และภาค ประชาชน ต้องตั้งอยู่ในความถูกต้องเป็นธรรม ตามหลักธรรมาภิบาลอันเป็นหัวใจของการจัดระเบียบ สังคม เพื่อให้สามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างสงบสุข นอกจากนี้ จากที่พบว่ารัฐจะใช้อำนาจทางปกครองควบคุมการขอรับบริจาคแล้ว รัฐยัง ใช้มาตรการทางภาษีของกรมสรรพากร เพื่อบังคับและสนับสนุนการบริจาคเงินในทางอ้อมอีกด้วย กล่าวคือ นโยบายแห่งรัฐสนับสนุนให้ประชาชนบริจาคเงินส่วนหนึ่งอันมาจากเงินได้ของตน เพื่อ ส่งเสริมและสนับสนุนหน่วยงานมูลนิธิ สมาคม สถานสาธารณกุศลๆ รวมทั้งพัฒนาสังคมให้ เจริญก้าวหน้าโดยผู้บริจาคได้ผลตอบแทนทางด้านภาษี เพราะสามารถนำมาลดหย่อนภาษีได้ ตาม ประมวลกฎหมายรัษฎากร มาตรา 47 (7) ให้สิทธิผู้มีเงินได้พึงประเมินนำเงินที่ตนบริจาคมาหักเป็น ค่าลดหย่อนได้ โดยหักได้เท่าจำนวนที่บริจาค แต่ไม่เกินร้อยละ 10 ของเงินได้พึงประเมินที่หักรายจ่าย แล้ว โดยการบริจาคเงินที่จะได้รับลดหย่อนภาษีนั้น จะต้องบริจาคเพื่อประโยชน์สาธารณะในประเทศ ไทย เช่น สภากาชาดไทย วัดวาอาราม สถานพยาบาล และสถานศึกษาของทางราชการ สถานศึกษา

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3