2566-1 นางสาวพัชราภรณ์ เรืองเพ็ง-การค้นคว้าอิสระ

20 2.5.3 พฤติกรรมการใช้อินเตอร์เน็ตในประเทศไทย สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (สพธอ.) หรือ ETDA (เอ็ตด้า) เผยผลสำรวจ พฤติกรรมผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย ปี 2565 โดยการเก็บข้อมูลผ่านแบบสอบถามทางออนไลน์ กับกลุ่มตัวอย่าง 46,348 คน ตั้งแต่เดือนเมษายนจนถึงกรกฎาคม 2565 ที่ผ่านมา พบว่าปีนี้ Gen Y (ช่วงอายุ 22-41 ปี) ใช้อินเทอร์เน็ต มากที่สุด 8 ชั่วโมง 55 นาที ส่วนรองลงมาอันดับ 2 คือ Gen Z (อายุน้อยกว่า 22 ปี) ใช้อินเทอร์เน็ตอยู่ที่ 8 ชั่วโมง 24 นาที ตามด้วย Gen X (ช่วงอายุ 42-57 ปี) 5 ชั่วโมง 52 นาที และ Baby Boomers ขึ้นไป (ช่วงอายุ 58 ปีขึ้นไป) 3 ชั่วโมง 21 นาที ขณะที่ ภาพรวม พบว่า คนไทยใช้อินเทอร์เน็ตเฉลี่ย 7 ชั่วโมง 4 นาที โดยนิยมใช้เน็ตเพื่อปรึกษาและรับ บริการทางการแพทย์ มากที่สุด 86.16% เพื่อติดต่อสื่อสาร 65.70% ดูรายการโทรทัศน์/คลิป/ดูหนัง/ ฟังเพลง 41.51% ดูถ่ายทอดสดเพื่อซื้อสินค้าและบริการ (Live Commerce) 34.10% ทำธุรกรรม ทางการเงิน 31.29% อ่านโพสต์/ข่าว/บทความ/หนังสือออนไลน์ 29.51% รับ -ส่งอีเมล 26.62% ช้อปปิ้งออนไลน์ 24.55% ทำงาน/ประชุมออนไลน์ 20.67% และเล่นเกมออนไลน์ 18.75% ตามลำดับ (สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์, 2566) นอกจากนี้ยังมีรายงานจากการสำรวจของ Digital 2022 Global Overview Report โดย เป็นข้อมูลจาก We Are Social และ Hootsuite พบว่าประเทศไทยมีผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตมากถึง 77.8% เทียบกับประชากรทั้งประเทศ ซึ่งเป็นสัดส่วนที่สูงกว่าค่าเฉลี่ยของโลกที่มีผู้งานอินเทอร์เน็ต เฉลี่ย 62.5% และคนไทยใช้เวลาบนโลกอินเทอร์เน็ตวันละ 9.07 ชั่วโมง สูงติดอันดับ 7 ของโลก สูงกว่าค่าเฉลี่ยของโลกที่มีผู้งานอินเทอร์เน็ตเฉลี่ยอยู่ที่ 6.58 ชั่วโมงต่อวัน ส่วนเวลาที่ใช้งานบน อินเทอร์เน็ตของคนไทย แบ่งเป็นการใช้งานอินเทอร์เน็ตบนมือถือ 5.28 ชั่วโมงต่อวัน เป็นอันดับสอง ของโลก และใช้อินเทอร์เน็ตบนคอมพิวเตอร์เป็นอันดับ 18 ของโลก อยู่ที่ 3.38 ชั่วโมงต่อวัน (Simon Kemp, 2022b) 2.6 กฎหมายไทยและต่างประเทศที่เกี่ยวข้อง 2.6.1 กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมการขอรับบริจาคของประเทศไทย 2.6.1.1 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 ในหมวดที่ 5 ได้มีการ กำหนดหลักการและหน้าที่ของรัฐไว้ซึ่งมีความเกี่ยวข้องกับการควบคุมการเรี่ยไร ได้แก่ บทบัญญัติ มาตรา 53 “รัฐต้องดูแลให้มีการปฏิบัติตามและบังคับใช้กฎหมายอย่างเคร่งครัด” และมาตรา 63 ที่กำหนดให้รัฐจะต้องคอยส่งเสริม สนับสนุน และให้ความรู้แก่ประชาชนถึงอันตรายที่เกิดจากการ ทุจริตและประพฤติมิชอบ และจะต้องจัดให้มีมาตรการและกลไกที่สามารถป้องกันและขจัดการทุจริต และประพฤติมิชอบดังกล่าวอย่างเข้มงวดอย่างมีประสิทธิภาพ รวมทั้งกลไกในการส่งเสริมให้

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3