2566-1 นางสาวพัชราภรณ์ เรืองเพ็ง-การค้นคว้าอิสระ
22 อย่างหนึ่งนั้นด้วย” เมื่อวิเคราะห์ปัญหาของบทนิยาม ตามมาตรา 4 พระราชบัญญัติควบคุมการเรี่ยไร พุทธศักราช 2487 กล่าวคือ บทนิยามคำว่า “เรี่ยไร” นั้น ยังไม่ได้ให้ความหมายหรือคำจำกัดความไว้ อย่างชัดเจน ซึ่งอาจจะนำไปสู่ปัญหาในทางปฏิบัติของพนักงานเจ้าหน้าที่และการตีความกฎหมายว่า การกระทำในลักษณะใดที่จะเข้าลักษณะการเรี่ยไรตามกฎหมายดังกล่าว และจะต้องมีการขออนุญาต ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ เนื่องจากในปัจจุบันการเรี่ยไรมีการพัฒนารูปแบบโดยวิธีที่ทันสมัยและใช้ เครื่องมือเทคโนโลยีเป็นสื่อกลางกระจายข้อมูลข่าวสาร เพื่อเผยแพร่ข้อมูลในลักษณะการขอความ ช่วยเหลือขอรับบริจาคเงินผ่านทางสื่อสังคมออนไลน์ (Social Media) เช่น เฟซบุ๊ก (Facebook) ไลน์ (Line) อินสตาแกรม (Instagram) เป็นต้น ดังนั้น หากกำหนดให้การเรี่ยไรทุกกรณีตองได้รับการ อนุญาตจากพนักงานเจาหนาที่ ก็อาจจะไม่สอดคล้องกับขอเท็จจริงในปัจจุบันที่มีการใช้สื่อสังคม ออนไลน์เป็นสื่อกลางเผยแพร่ข้อมูลเป็นไปอย่างกว้างขวางและรวดเร็ว ลักษณะการเรี่ยไรที่จะต้องได้รับอนุญาต การเรี่ยไรที่จะต้องได้รับอนุญาตแบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ คือ (1) การเรี่ยไร ซึ่งอ้างว่าเพื่อประโยชน์ของทางราชการ เทศบาลหรือสาธารณประโยชน์ และ (2) การเรี่ยไรที่จะ กระทำหรือจัดให้มีในถนนหลวงหรือในที่สาธารณะ โดยทั้งสองลักษณะดังกล่าวจะต้องได้รับการ อนุญาต ดังนี้ กรณีที่ 1 การเรี่ยไรที่จะต้องได้รับอนุญาตจากคณะกรรมการควบคุมการ เรี่ยไร ตามมาตรา 6 กำหนดว่า “การเรี่ยไรซึ่งอ้างว่าเพื่อประโยชน์แก่ราชการ เทศบาลหรื อ สาธารณประโยชน์จะจัดให้มีได้ต่อเมื่อได้รับอนุญาตจากคณะกรรมการควบคุมการเรี่ยไรแล้ว โดยไม่ใช้ บังคับกับกรณีที่กระทรวง ทบวงหรือกรม เป็นผู้จัดให้มี” กรณีที่ 2 การเรี่ยไรที่จะต้องได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ ตามมาตรา 8 กำหนดว่า “การเรี่ยไรในถนนหลวงหรือในที่สาธารณะ การเรี่ยไรโดยโฆษณาด้วยสิ่งพิมพ์ ด้วย วิทยุกระจายเสียง หรือด้วยเครื่องเปล่งเสียงจะจัดให้มีหรือทำได้ ต่อเมื่อรับอนุญาตจากพนักงาน เจ้าหน้าที่ ยกเว้นการเรี่ยไรที่ได้รับอนุญาตหรือได้รับยกเว้นตามมาตรา 6 หรือการเรี่ยไรเพื่อการกุศล สงเคราะห์ในโอกาสที่บุคคลมาชุมนุมประกอบกิจกรรมศาสนกิจ หรือขายสิ่งของในงานออกร้านซึ่ง ได้รับอนุญาตให้ออกร้าน หรือในที่ประชุมเฉพาะแห่งอันได้จัดให้ขึ้นโดยชอบด้วยกฎหมายที่ผู้จัดให้มี การประชุมเป็นผู้จัดให้มีขึ้น” เมื่อวิเคราะห์ลักษณะของการเรี่ยไรที่จะต้องได้รับอนุญาตจากคณะกรรมการ ควบคุมการเรี่ยไรตามมาตรา 8 พระราชบัญญัติควบคุมการเรี่ยไร พุทธศักราช 2487 กล่าวคือ บทกฎหมายบัญญัติไว้แต่เพียง “การเรี่ยไรในถนนหลวงหรือในที่สาธารณะการเรี่ยไรโดยโฆษณาด้วย สิ่งพิมพ์ด้วยวิทยุกระจายเสียง หรือด้วยเครื่องเปล่งเสียงจะจัดให้มีหรือทำได้ต่อเมื่อได้รับอนุญาตจาก พนักงานเจาหน้าที่แลว” ดังกล่าวข้างต้น มิได้บัญญัติให้ครอบคลุมไปถึงการควบคุมการโฆษณาการ
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3