2566-1 นางสาวพัชราภรณ์ เรืองเพ็ง-การค้นคว้าอิสระ

33 หลักการเรี่ยไร โดยมีหลักทั่วไปตามข้อ 5 กำหนดไว้ว่า “ห้ามมิให้วัดหรือพระภิกษุสามเณรทำ การเรี่ยไร หรือมอบหมาย หรือยินยอมให้ผู้อื่นทำการเรี่ยไร ไม่ว่าจะทางตรงหรือทางอ้อม โดยมี วัตถุประสงค์เพื่อประโยชน์แก่วัดหรือพระศาสนาหรือเพื่อประโยชน์อย่างอื่นใดแก่ตนเองหรือผู้อื่น เว้นแต่กรณีที่กำหนดไว้ในคำสั่งเถรสมาคม” ดังนี้ (1) กรณีการเรี่ยไรที่กระทำได้เฉพาะภายในบริเวณวัด คือ การบำเพ็ญกุศลใน วัด ซึ่งเป็นงานประจำปี หรืองานพิเศษ (2) กรณีการเรี่ยไรที่กระทำนอกบริเวณวัด คือ การกำหนดวัตถุประสงค์การ เรี่ยไรเพื่อก่อสร้างหรือปฏิสังขรณ์ถาวรวัตถุ และถาวรวัตถุนั้นต้องได้มีการก่อสร้างหรือปฏิสังขรณ์ไว้ แล้ว ไม่น้อยกว่าครึ่งหนึ่งของงานก่อสร้างหรือปฏิสังขรณ์ทั้งหมด บทกำหนดโทษ บทกำหนดโทษแก่พระภิกษุและสามเณรที่ฝ่าฝืนคำสั่งมหาเถรสมาคม คือ ข้อ 9 ได้กำหนดไว้ 2 กรณี คือ กรณีที่ 1 ถ้ามิได้เป็นพระสังฆาธิการ เมื่อเจ้าอาวาสเจ้าสังกัดทราบ ถึงความผิดนั้นแล้วให้จัดการพระภิกษุสามเณรรูปนั้นออกไปเสียจากวัด กรณีที่ 2 ถ้าเป็นพระสังฆาธิการ ให้เจ้าคณะเจ้าสังกัดพิจารณาลงโทษฐาน ละเมิดจริยาพระสังฆาธิการตามควรแก่กรณี 2.6.2 กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมการขอรับบริจาคของต่างประเทศ ผู้วิจัยได้ศึกษามาตรการทางกฎหมายของต่างประเทศในการควบคุมการขอรับบริจาค หรือการเรี่ยไร ได้แก่ สาธารณรัฐสิงคโปร์ และสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ กล่าวคือ 2.6.2.1 สาธารณรัฐสิงคโปร์ (Singapore) การควบคุมการรับบริจาคหรือการเรี่ยไรของสาธารณรัฐสิงคโปร์ อยู่ภายใต้ พระราชบัญญัติการกุศล ค.ศ.1994 (Charities Act , B.C.1994) แก้ไขถึงฉบับปี 2020 วันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2564 และมีผลบังคับใช้ในวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2564 เป็นพระราชบัญญัติที่บัญญัติ ไว้จัดให้มีการขึ้นทะเบียนการกุศล การบริหารงานการกุศลและกิจการ ระเบียบการการกุศลและ สถาบันที่เป็นสาธารณะ ข้อบังคับเกี่ยวกับกิจกรรมหาทุนที่ดำเนินการเกี่ยวกับการกุศลและสถาบันอื่น และเพื่อเสริมสร้างกรอบการกำกับดูแลสำหรับองค์กรการกุศล หลักปฏิบัติของคณะกรรมการการกุศล (The Commissioner of Charities : COC) สำหรับการเรี่ยไรการระดมทุนออนไลน์ เพื่อเพิ่มความ โปร่งใสในขอบเขตการให้ทางออนไลน์ ซึ่งสรุปสาระสำคัญได้ดังนี้ บทนิยาม (มาตรา 2) “บริษัทการกุศล” หมายความว่า องค์กรการกุศลที่เป็นบริษัทหรือองค์กรอื่น

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3