2566-1 นางสาวพัชราภรณ์ เรืองเพ็ง-การค้นคว้าอิสระ
46 ให้กับองค์กรการกุศลที่ลงทะเบียนหลายแห่งผ่าน “แค็ตตาล็อกการบริจาค” (Donations Catalog) และสามารถการบริจาคเงินแบบเฉพาะเจาะจงได้ เช่น ซื้อพัดลมให้ครอบครัวยากจนในไนเจอร์ใน ราคา 130 AED (Nada El Sawy, 2020) เป็นต้น 2.7 งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ผู้วิจัยได้ทำการศึกษางานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมการรับบริจาคผ่านสื่อสังคม ออนไลน์ พบงานวิจัย ดังนี้ งานวิจัยที่ศึกษาเรื่อง การสื่อสารบนเครือข่ายสังคมออนไลน์กับการบริจาค กรณีศึกษา มูลนิธิเพื่อสุนัขยากไร้ ปี 2557 โดยวนิษา แก้วสุข (2557) ได้ศึกษาวิจัยเชิงปริมาณ ซึ่งผลการวิจัย พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีการเปิดรับข่าวสารเกี่ยวกับมูลนิธิเพื่อสุนัขยากไร้ผ่านเครือข่ายสังคม ออนไลน์ในช่วง 1 ปีที่ผ่านมา 1 – 4 ครั้ง/ปี โดยใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ที่เปิดรับข่าวสารประเภท Facebook ซึ่งมีระยะเวลาในการเปิดรับข่าวสารเกี่ยวกับมูลนิธิเพื่อสุนัขยากไร้ผ่านเครือข่ายสังคม ออนไลน์โดยรวมต่อวันน้อยกว่า 1 ชั่วโมง และใช้ที่พักอาศัยในการเข้าถึงเครือข่ายสังคมออนไลน์มาก ที่สุด กลุ่มตัวอย่างเคยบริจาคสิ่งของและเคยมอบอาหารเพื่อเป็นประโยชน์หรือช่วยเหลือมูลนิธิเพื่อ สุนัขยากไร้ และไม่เคยมอบยารักษาโรคเพื่อเป็นประโยชน์หรือเพื่อช่วยเหลือแก่มูลนิธิเพื่อสุนัขยากไร้ สำหรับผลการทดสอบสมมติฐานการวิจัย พบว่าระยะเวลาในการเปิดรับข่าวสารของผู้บริจาคแตกต่าง กัน มีการตัดสินใจในการบริจาคให้กับมูลนิธิ เพื่อสุนัขยากไร้แตกต่างกัน ในขณะที่ลักษณะทาง ประชากร ความถี่ในการเปิดรับข่าวสาร ประเภทเครือข่ายสังคมออนไลน์ในการบริจาคให้กับมูลนิธิ เพื่อสุนัขยากไร้ไม่แตกต่างกัน งานวิจัยที่ศึกษาเรื่อง ทัศนคติและพฤติกรรมการบริจาคเงินเพื่อช่ วยเหลือสัตว์บน เครือข่ายสังคมออนไลน์ : กรณีศึกษาบนเครือข่ายสังคมออนไลน์เฟซบุ๊ก ในประเทศไทย โดยพัชรสิตา รัฐโชติพิริยกร (2558) ได้ศึกษาวิจัยเชิงปริมาณ ผลการวิจัยพบว่ากลุ่มตัวอย่างมีการเปิดรับเครือข่าย สังคมออนไลน์ Facebook และมีทัศนคติต่อการบริจาคเงินเพื่อช่วยเหลือสัตว์บนเครือข่ายสังคม ออนไลน์ Facebook โดยรวมอยู่ในระดับมาก แต่มีพฤติกรรมการบริจาคเงินเพื่อช่วยเหลือสัตว์ บนเครือข่ายสังคมออนไลน์ Facebook โดยรวมอยู่ในระดับน้อย อย่างไรก็ตามกลุ่มตัวอย่างอาจจะ ตัดสินใจบริจาคเงินเพื่อช่วยเหลือสัตว์บนเครือข่ายสังคมออนไลน์ : Facebook มากขึ้น โดยปัจจัย ด้านทัศนคติจะเป็นปัจจัยสำคัญที่จะส่งผลต่อการตัดสินใจบริจาคเงินเพื่อช่วยเหลือสัตว์บนเครือข่าย สังคมออนไลน์ Facebook มากขึ้นได้ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 งานวิจัยที่ศึกษาเรื่อง ปัญหาในการบังคับใช้พระราชบัญญัติควบคุมการเรี่ยไร พุทธศักราช 2487 โดยสุวิมล กลิ่นแจ่ม (2559) ได้ศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพ ผลการศึกษาพบว่า บทนิยามของคำว่า“การเรี่ยไร” และลักษณะของการเรี่ยไร ไม่ครอบคลุมไปถึงลักษณะวิธีการเรี่ยไรที่
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3