2566-1 นางสาวพัชราภรณ์ เรืองเพ็ง-การค้นคว้าอิสระ
47 ดำเนินการอยู่ในปัจจุบัน ซึ่งมีลักษณะกว้างขวางเห็นควรมีการปรับปรุงกฎหมายให้ครอบคลุมถึง ลักษณะวิธีการเรี่ยไรที่ใช้บังคับอยู่ในปัจจุบัน และวิธีการที่มีแนวโน้มมาจะมีการพัฒนาขึ้นในอนาคต โดยในระยะสั้นอาจแก้ไขบทบัญญัติของกฎหมาย รวมถึงการกำหนดรายละเอียดของกระบวนการ ขั้นตอนต่าง ๆ ในการขออนุญาตทำการเรี่ยไร เพื่อสร้างการรับรู้ให้กับประชาชนผู้เข้ารับการเรี่ยไรให้ ชัดเจนยิ่งขึ้น งานวิจัยที่ศึกษาเรื่อง ปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับการควบคุมการเรี่ยไร ตาม พระราชบัญญัติควบคุมการเรี่ยไร พุทธศักราช 2487 โดย จิดาภา อธิกิจอังกูร (2565) ได้ศึกษาวิจัย เชิงคุณภาพ ผลการศึกษาพบว่า การเรี่ยไรได้เปลี่ยนแปลงไปจากเดิม การเรี่ยไรมีวัตถุประสงค์เพื่อการ กุศล, เพื่อกิจกรรมทั่วไปหรือเพื่อช่วยเหลือผู้ด้อยโอกาส โดยการบริจาคนั้นขึ้นอยู่กับความพึงพอใจ ของผู้บริจาคเอง แต่ถ้าหากผู้บริจาคไม่ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลการเรี่ยไรนั้น ๆ ให้ดีจะเป็น การเปิดโอกาสให้มีการเรี่ยไรที่ไม่ชอบ ดังนั้น การใช้กฎหมายเข้ามาควบคุมและกำหนดความรับผิด สำหรับการฝ่าฝืนบทบัญญัติควบคุมการเรี่ยไรตั้งแต่ต้นเป็นวิธีที่ดีที่สุด แต่บทบัญญัติพระราชบัญญัติ ควบคุมการเรี่ยไร พุทธศักราช 2487 ในปัจจุบันบังคับใช้มาเป็นเวลานาน พบว่าการเรี่ยไรที่มีมากขึ้น ตามความก้าวหน้าของเทคโนโลยี มีการปฏิบัติตามหรือการลงโทษตามกฎหมายน้อยมาก และ ยังพบว่ากฎหมายไม่ได้บัญญัติบทนิยามของการเรี่ยไรประเภทการเรี่ยไรและหลักเกณฑ์ในการขอ อนุญาต, มาตรการตรวจสอบหลังจากได้รับอนุญาตไว้ชัดเจน ทำให้เกิดการหลอกลวง ข่มขู่ หรือใช้ ทรัพย์สินที่ได้มาจากการเรี่ยไรผิดวัตถุประสงค์ ผู้วิจัยจึงมีข้อเสนอแนะว่าควรให้มีการแก้ไขปรับปรุง พระราชบัญญัติควบคุมการเรี่ยไร พุทธศักราช 2487 เพื่อให้คำนิยามว่าการเรี่ยไรและหลักเกณฑ์การ อนุญาตชัดเจนมากขึ้น รวมทั้งควรกำหนดหลักการตรวจสอบการเรี่ยไรหลังได้รับอนุญาตและปรับ บทลงโทษผู้ฝ่าฝืนบทกฎหมายให้เหมาะสม
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3