2566-1 นางสาวพัชราภรณ์ เรืองเพ็ง-การค้นคว้าอิสระ
บทที่ 3 วิธีดำเนินการวิจัย การศึกษาและวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ในการค้นหาคำตอบอันเป็นเป้าหมายหลัก คือ ปัญหา ทางกฎหมายเกี่ยวกับการขอรับบริจาคเงินผ่านสื่อสังคมออนไลน์ (Social Media) โดยคำตอบ ดังกล่าวนี้ย่อมจะมาจากการเก็บรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูล ตามวิธีการวิจัย ( Research Methodology) ที่กำหนดไว้ ดังนั้น การเก็บรวบรวมข้อมูลและการวิเคราะห์หาคำตอบ จึงได้กำหนด ระเบียบวิธีการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ประกอบด้วยการวิจัยเอกสาร (Documentary Research) และการวิจัยภาคสนาม (Field Research) ด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) ซึ่งข้อมูลที่ได้จากการใช้วิธีการวิจัย มีวัตถุประสงค์ที่จะนำมาวิเคราะห์เพื่อให้ ทราบถึงปัญหาและอุปสรรคของการใช้บังคับกฎหมายควบคุมการขอรับบริจาคในระบบกฎหมายไทย ตลอดจนหาแนวทางแก้ไขปรับปรุงมาตรการทางกฎหมายในการควบคุมการขอรับบริจาคเงินผ่าน สื่อสังคมออนไลน์ (Social Media) ให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น โดยมีรายละเอียด ดังนี้ 3.1 การวิจัยเอกสาร (Documentary Research) เป็นการเก็บรวบรวมข้อมูลที่เป็นเอกสาร โดยกำหนดประเภทของเอกสารและประเด็นที่ ต้องการใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่ กฎหมายที่เกี่ยวกับการควบคุมการขอรับบริจาคของประเทศไทย กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมการขอรับบริจาคของต่างประเทศ และเอกสารอื่นที่เกี่ยวข้อง ในลักษณะของการทบทวนวรรณกรรมที่เป็นแนวคิด ทฤษฎี และหลักการ รวมทั้งรายงานวิจัย ตำรา และบทความทั้งของไทยและต่างประเทศ ข้อมูลเอกสารที่ได้มามีทั้งข้อมูลปฐมภูมิ ( Primary data) ข้อมูลทุติยภูมิ (Secondary data) ที่เกี่ยวข้องกับปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับการขอรับบริจาคเงิน ผ่านสื่อสังคมออนไลน์ (Social Media) เอกสารที่ทบทวนและวิเคราะห์นั้นได้กำหนดประเด็นหัวข้อ ดังนี้ 3.1.1 แนวคิด ทฤษฎี หลักการเกี่ยวกับการควบคุมการขอรับบริจาค ที่นำมาใช้ ประกอบการวิเคราะห์ ประกอบด้วย 1) แนวคิดและทฤษฎีเกี่ยวกับการขอรับบริจาคหรือการเรี่ยไร 2) แนวคิดและทฤษฎีเกี่ยวกับการบริจาค 3) แนวคิดและทฤษฎีเกี่ยวกับการให้ 4) แนวคิดการใช้อำนาจรัฐในการควบคุมการขอรับบริจาค 5) แนวคิดและทฤษฎีเกี่ยวกับสื่อสังคมออนไลน์
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3