2566-1 นางสาวพัชราภรณ์ เรืองเพ็ง-การค้นคว้าอิสระ
49 3.1.2 กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมการขอรับบริจาคของประเทศไทย ดังนี้ 1) รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 2) พระราชบัญญัติควบคุมการเรี่ยไร พ.ศ. 2487 3) พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 และ พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2560 4) ประมวลกฎหมายอาญา 5) ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการเรี่ยไรของหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2566 6) ประกาศคณะกรรมการควบคุมการเรี่ยไรของหน่วยงานของรัฐ เรื่อง การกำหนด หลักเกณฑ์และวิธีการดำเนินการกับสิ่งของที่หน่วยงานของรัฐได้รับมาจากการเรี่ยไรโดยฝ่าฝืนหรือไม่ ปฏิบัติตามระเบียบ ลงวันที่ 29 พฤศจิกายน 2544 7) ประกาศคณะกรรมการควบคุมการเรี่ยไรของหน่วยงานของรัฐ เรื่อง การยกเว้นให้ หน่วยงานของรัฐทำการเรี่ยไรได้โดยไม่ต้องขออนุมัติต่อคณะกรรมการควบคุมการเรี่ยไรของหน่วยงาน ของรัฐ หรือคณะกรรมการควบคุมการเรี่ยไรจังหวัด ตามข้อ 19 (4) และ (5) แห่งระเบียบสำนัก นายกรัฐมนตรีว่าด้วยการเรี่ยไรของหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2544 ลงวันที่ 29 พฤศจิกายน 2544 และ (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 30 เมษายน 2556 8) ประกาศคณะกรรมการควบคุมการเรี่ยไรของหน่วยงานของรัฐ เรื่อง หลักเกณฑ์และ วิธีการในการยื่นคำขออนุมัติให้หน่วยงานของรัฐจัดให้มีการเรี่ยไร หรือให้หน่วยงานของรัฐเข้าไปมี ส่วนเกี่ยวข้องกับการเรี่ยไร ลงวันที่ 4 สิงหาคม 2558 9) คำสั่งมหาเถรสมาคม เรื่อง ควบคุมการเรี่ยไร พ.ศ. 2539 ลงวันที่ 4 สิงหาคม 2539 3.1.3 กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมการการขอรับบริจาคของต่างประเทศ 1) สาธารณรัฐสิงคโปร์ คือ พระราชบัญญัติการกุศล ค.ศ. 1994 (Charities Act, B.C. 1994) 2) สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ คือ พระราชกฤษฎีกาฉบับที่ (9) ปี 2015 ควบคุมการบริจาค เงินในเอมิเรตแห่งดูไบ (Decree No. (9) of 2015 Regulating the Raising of Donations in the Emirate of Dubai) และกฎหมายของรัฐบาลกลาง ฉบับที่ 3 ปี 2021 ว่าด้วยระเบียบการบริจาค (Federal Law No. 3 of 2021 Concerning the Regulation of Fundraising Activities) 3.2 การวิจัยภาคสนาม (Field Research) การวิจัยภาคสนามเป็นการเก็บรวบรวมข้อมูลมาจากผู้ที่เกี่ยวข้องหรือผู้ที่ได้รับผลกระทบ โดยตรงจากการขอรับบริจาคผ่านสื่อสังคมออนไลน์ ดังนั้น จึงต้องมีกระบวนวิธีการในการเก็บข้อมูล ซึ่งการศึกษานี้กำหนดระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ คือ การสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth interviews)
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3