2566-1 นางสาวพัชราภรณ์ เรืองเพ็ง-การค้นคว้าอิสระ
58 เพราะถือว่าให้พระเจ้า ส่วนในกรณีที่ผู้ขอรับบริจาคก่อเหตุให้เกิดความเดือดร้อนแก่ประชาชนจำนวน มาก ผู้นำศาสนาจะต้องแจ้งประกาศในโบสถ์ หรือประชาสัมพันธ์ทางสื่อโซเชียลให้ผู้คนระมัดระวัง มิจฉาชีพ (3) ศาสนาพุทธ ในเรื่องความใจดีมากเกินไปเป็นเรื่องส่วนบุคคล เช่น ทำบุญ เพียงจำนวน 10 บาทหรือ 20 บาท หากถูกหลอกลวงบางคนไม่สนใจและไม่ติดตามทวงคืน เพราะถือ ว่าทำบุญ ตามหลักศาสนาผู้ให้จะได้รับผลบุญถึงแม้รู้ว่าผู้ขอเงินนั้นเป็นผู้หลอกลวง เพราะเป็นการ เสียหายเล็กน้อย ส่วนผู้ที่หลอกลวงจะได้รับผลบาป แต่ถ้าเกิดการหลอกลวงที่มีผู้เสียหายหลายคน ผู้ที่ บริจาคไปแล้วต้องรับผิดชอบ ต้องติดตาม ดำเนินการร้องทุกข์ต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจเพื่อจัดการ ดำเนินคดีอย่าให้มิจฉาชีพได้ใจ จากการศึกษาทางกฎหมายไทยที่ใช้ควบคุมเกี่ยวกับการบริจาคไม่ได้บังคับแก่ ผู้บริจาค บทบัญญัติกฎหมายมุ่งเน้นในการควบคุมถึงผู้ขอรับบริจาคหรือองค์กรเพียงเท่านั้น ฉะนั้น แล้วทุกคนมีความอิสระในการบริจาค หรือทำบุญได้ตามความต้องการของตน โดยไม่มีข้อบังคับหรือ มาตรการควบคุมใด ๆ เนื่องจากเป็นสิทธิส่วนบุคคลที่พึงประสงค์จะช่วยเหลือไม่ว่าจะเป็นตัวเงิน ทรัพย์ หรือการกระทำใด ๆ เมื่อเปรียบเทียบกับกฎหมายต่างประเทศที่ผู้วิจัยได้ศึกษา พบว่าประเทศที่มี บทบัญญัติใช้บังคับครอบคลุมถึงผู้บริจาค ได้แก่ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ กฎหมายที่เกี่ยวกับควบคุม การบริจาคมีหลายฉบับ แต่กฎหมายที่กล่าวถึงการบังคับผู้บริจาค คือ กฎหมายว่าด้วยการต่อสู้กับ อาชญากรรมทางเทคโนโลยีสารสนเทศ (Federal Decree Law No. 34 of 2021) ที่กำหนดให้การ สนับสนุนหรือส่งเสริมการขอรับบริจาคที่ไม่มีใบอนุญาต และพบว่าการขอรับบริจาคนั้นมีลักษณะที่ เป็นความผิดตามกฎหมาย ผู้บริจาคอาจต้องโทษสูงสุดคือจำคุกและปรับสูงสุดถึง 500,000 AED หรือ ทั้งจำทั้งปรับ ฉะนั้นแล้ว การบริจาคในสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ผู้บริจาคอยู่ภายใต้บังคับของกฎหมาย ซึ่งจะต้องใช้ความระมัดระวังเป็นอย่างยิ่งก่อนที่บริจาค เพราะจะต้องพิจารณาตรวจสอบว่าองค์กรการ กุศลได้รับใบอนุญาตและมีหมายเลขใบอนุญาตหรือไม่ ซึ่งทำการตรวจดูรายชื่อองค์กรการกุศลที่จด ทะเบียนบนเว็บไซต์ และพอร์ทัลการกุศลของรัฐบาลสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ที่รวบรวมแหล่งของ องค์กรการกุศลต่าง ๆ ไว้ 4.1.2 ปัญหาการเปลี่ยนแปลงลักษณะรูปแบบของการขอรับบริจาคหรือการเรี่ยไร ด้วยลักษณะรูปแบบของการขอรับบริจาคหรือการเรี่ยไรมีการเปลี่ยนแปลงไปตามการ พัฒนาของเทคโนโลยี กล่าวคือ เมื่อครั้นยังไม่มีความเจริญก้าวหน้าของเทคโนโลยีเข้ามาเป็นเครื่องมือ สื่อกลางในการเผยแพร่ข้อมูล การขอรับบริจาคหรือเรี่ยไรเพื่อทะนุบำรุงศาสนา เพื่อช่วยเหลือสัตว์ เพื่อช่วยเหลือผู้ด้อยโอกาส หรือเพื่อการเลี้ยงชีพ สามารถพบเห็นได้ในที่สาธารณะของชุมชนใน ลักษณะเผชิญหน้ากัน ทำให้ผู้บริจาคสามารถสอบถามและตรวจสอบเบื้องต้นได้ว่า การขอรับบริจาคนั้น
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3