2566-1 นางสาวพัชราภรณ์ เรืองเพ็ง-การค้นคว้าอิสระ

60 ไถ่ชีวิตโคกระบือ หรือการขอรับบริจาคช่วยผู้ยากไร้ นักเรียนเรียนดีแต่ขาดทุนการศึกษา และมี แนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ เนื่องจากสื่อสังคมออนไลน์ที่เพิ่มขึ้น อาทิ เช่น เฟซบุ๊ก (Facebook), ยูทูป (YouTube), ติ๊กต็อก (TikTok) เป็นต้น ซึ่งประชาชนโดยทั่วไปสามารถเข้าถึงได้ง่ายและเป็นช่อง ทางการขอความช่วยเหลือที่ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย ด้วยรูปแบบการดำเนินงานในลักษณะ การนำเข้าข้อมูลข่าวสารผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์โดยใช้ระบบสื่อสารอินเทอร์เน็ต อันมีลักษณะเป็น การเรี่ยไรในกลุ่มเปิดระหว่างกลุ่มบุคคลหรือสาธารณะในวงกว้างและมีการกระจายข้อมูลข่าวสารใน ลักษณะที่ไม่อาจควบคุมได้ ซึ่งวิธีการนี้มีข้อดี คือ การขอรับบริจาครูปแบบดังกล่าวประชาชนทั่วไป สามารถเข้าถึงได้ง่าย สามารถกระจายข้อมูลข่าวสารได้อย่างรวดเร็วและเป็นวงกว้าง ผู้ขอรับบริจาค สามารถแสดงให้เห็นเหตุและผลในการขอรับบริจาคเนื่องจากสามารถโพสต์ภาพประกอบและเอกสาร ที่เกี่ยวข้องได้ ส่งถึงผู้คนได้หลากหลายกลุ่ม วิธีการส่งมอบเงินหรือทรัพย์สินสามารถดำเนินการผ่าน แพลตฟอร์มออนไลน์ได้ทันที ทำให้สามารถรวบรวมเงินหรือทรัพย์สินเพื่อช่วยเหลือเยียวยาได้เป็น จำนวนมากและกระทำได้ในเวลารวดเร็ว ส่วนข้อเสียคือ เป็นการดำเนินงานผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์ (The online platform) ทำให้การระบุตัวบุคคลผู้รับผิดชอบทำการขอรับบริจาครวมทั้งการ ตรวจสอบยืนยันข้อมูลที่เผยแพร่อาจทำได้ยากหากมีการปกปิดหรือหลอกลวง รวมทั้งการติดตามตัว ผู้กระทำความผิดก็สามารถทำได้ยากกว่า ซึ่งอาจเป็นช่องทางของมิจฉาชีพในการหลอกลวงขอบริจาค เงินจากประชาชนได้ง่ายกว่าในรูปแบบเดิมและสร้างความเสียหายให้เกิดขึ้นได้ในวงกว้างและมูลค่าสูง ซึ่งยากต่อการควบคุมให้การขอรับบริจาคผ่านสื่อสังคมออนไลน์เป็นไปอย่างถูกต้อง โดยจะกล่าวให้ ทราบถึงการปัญหาของกฎหมายที่ใช้ในการควบคุมการขอรับบริจาคเงินหรือการเรี่ยไรผ่านสื่อสังคม ออนไลน์ในหัวข้อต่อไป 4.2 มาตรการทางกฎหมายในการควบคุมการขอรับบริจาคเงินผ่านสื่อสังคมออนไลน์ (Social Media) ของภาคเอกชนในระบบกฎหมายไทย การควบคุมการขอรับบริจาคหรือการเรี่ยไรในระบบกฎหมายไทยพบว่าในปัจจุบันมี กฎหมายที่เกี่ยวข้องหลายฉบับ โดยแบ่งตามประเภทการบังคับใช้ได้ 3 ประเภท ได้แก่ 1) การบังคับ ใช้กับหน่วยงานของรัฐเท่านั้น คือ ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการเรี่ยไรของหน่วยงานของรัฐ พ.ศ.2566 เป็นบทบัญญัติที่ใช้บังคับกับเรี่ยไรของหน่วยงานของรัฐทุกระดับ 2) การบังคับใช้กับวัด หรือพระภิกษุสงฆ์สามเณร คือ คำสั่งมหาเถรสมาคม เรื่อง ควบคุมการเรี่ยไร พ.ศ.2539 และ 3) การ บังคับใช้กับการเรี่ยไรของภาคเอกชน บุคคลทั่วไป นิติบุคคล หรือสมาคม ฯลฯ คือ พระราชบัญญัติ ควบคุมการเรี่ยไร พุทธศักราช 2487 นอกจากนี้บทบัญญัติบางมาตรายังมีผลบังคับใช้กับการเรี่ยไร ของหน่วยงานของรัฐอีกด้วย แต่ไม่รวมถึงกระทรวง ทบวง กรมซึ่งเป็นผู้จัดให้มีการเรี่ยไร

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3