2566-1 นางสาวพัชราภรณ์ เรืองเพ็ง-การค้นคว้าอิสระ

62 ใช้วิธีการใด ๆ จะต้องยื่นขออนุญาตเรี่ยไรต่อคณะกรรมการควบคุมการเรี่ยไร ตามมาตรา 6 แห่งพระราชบัญญัติควบคุมการเรี่ยไร พุทธศักราช 2487 กรณีที่สองการเรี่ยไรเพื่อวัตถุประสงค์อื่น นอกจากมาตรา 6 ซึ่งดำเนินการในลักษณะตามมาตรา 8 ต้องได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ โดยทั้งสองกรณีจะต้องระบุวิธีการเรี่ยไร จำนวนเงินที่ต้องการเรี่ยไร สถานที่เรี่ยไร และเวลาเริ่มต้น และสิ้นสุดกิจกรรมเรี่ยไร ตามมาตรา 9 อีกทั้ง ผู้ขออนุญาตต้องมีคุณสมบัติตามที่กำหนด มาตรา 11 ซึ่งจะเห็นได้ว่ากฎหมายควบคุมการเรี่ยไรของภาคเอกชนหากเป็นการเรี่ยไรหรือขอรับบริจาคซึ่งมี วัตถุประสงค์เพื่อการอื่นที่ไม่ใช่เพื่อประโยชน์สาธารณะหรือหน่วยงานราชการ และขอรับบริจาคหรือ เรี่ยไรโดยใช้วิธีการอื่นที่ไม่ได้กำหนดไว้ในมาตรา 8 กล่าวคือ บนถนนหลวง หรือในที่สาธารณะ โฆษณาด้วยสิ่งพิมพ์ ด้วยวิทยุกระจายเสียง หรือด้วยเครื่องเปล่งเสียงนั้น ไม่ต้องยื่นคำร้องขออนุญาต จากพนักงานเจ้าหน้าที่ของรัฐ ซึ่งจะเห็นได้ว่าเป็นช่องว่างของกฎหมายที่ทำให้การขอรับบริจาคผ่าน สื่อสังคมออนไลน์ในปัจจุบันปราศจากการควบคุมจากรัฐ 4.3 ปัญหาในการบังคับใช้กฎหมายควบคุมการขอรับบริจาคผ่านสื่อสังคมออนไลน์ เนื่องจากการศึกษาในครั้งนี้ มุ่งหาคำตอบของขอรับบริจาคเงินผ่านสื่อสังคมออนไลน์ (Social Media) ซึ่งกระทำโดยบุคคลทั่วไป นิติบุคคล หรือสมาคม อันอยู่ภายใต้บทบังคับ พระราชบัญญัติควบคุมการเรี่ยไร พุทธศักราช 2487 พบว่าพระราชบัญญัติควบคุมการเรี่ยไร พุทธศักราช 2487 ที่มีผลบังคับใช้มาเป็นระยะเวลานานเกือบ 80 ปี โดยไม่ได้มีการแก้ไขเพิ่มเติม และไม่สอดคล้องกับสภาวการณ์ในปัจจุบันที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว โดยสรุปปัญหาในการบังคับ ใช้กฎหมายควบคุมการขอรับบริจาคผ่านสื่อสังคมออนไลน์ แยกประเด็นปัญหาได้ 4 ประเด็น ดังนี้ 4.3.1 บทนิยาม จากการวิเคราะห์บทนิยามตามมาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติควบคุมการเรี่ยไร พุทธศักราช 2487 “การเรี่ยไร หมายความรวมตลอดถึงการซื้อขาย แลกเปลี่ยนชดใช้ หรือบริการซึ่ง มีการแสดงโดยตรงหรือโดยปริยาย ว่ามิใช่เป็นการซื้อขาย แลกเปลี่ยน ชดใช้ หรือบริการธรรมดา แต่เพื่อรวบรวมทรัพย์สินที่ได้มาทั้งหมดหรือบางส่วนไปใช้ในกิจการอย่างใดอย่างหนึ่งด้วย” ที่ไม่ได้มี การอธิบายยกตัวอย่าง และไม่ได้ให้ความหมายหรือคำจำกัดความไว้อย่างชัดเจน ซึ่งอาจจะนำไปสู่ ปัญหาในทางปฏิบัติของพนักงานเจ้าหน้าที่และการตีความกฎหมายว่าการกระทำในลักษณะใดที่จะ เข้าลักษณะการเรี่ยไรตามกฎหมายดังกล่าว และจะต้องมีการขออนุญาตต่อพนักงานเจ้าหน้าที่และ จากการศึกษาพบว่าในปัจจุบันจะใช้คำว่า “ขอรับบริจาค” มากกว่าการใช้คำว่า “เรี่ยไร” อันมี ความหมายเดียวกัน เนื่องจากภาษาหรือคำพูดที่ใช้ได้มีการเปลี่ยนแปลงตามสังคม ทั้งการพัฒนา รูปแบบโดยวิธีที่ทันสมัยและใช้เครื่องมือเทคโนโลยีเป็นสื่อกลางกระจายข้อมูลข่าวสาร เพื่อเผยแพร่ ข้อมูลขอรับบริจาคเงินในลักษณะการขอความช่วยเหลือหรือเชิญชวนในลักษณะร่วมให้ทำบุญผ่าน

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3