2566-1 นางสาวพัชราภรณ์ เรืองเพ็ง-การค้นคว้าอิสระ
63 ทางสื่อสังคมออนไลน์ (Social Media) กรณีตัวอย่าง เช่น กรณีโพสต์เชิญชวนร่วมทำบุญช่วยจ่ายค่า ไฟฟ้าให้วัด หรือโพสต์ขายสินค้าอื่น ๆ ซึ่งสินค้าจะมีราคาสูงกว่าท้องตลาดทั่วไปโดยอ้างว่าเพื่อนำเงิน ไปใช้จ่ายค่ารักษาพยาบาลบุตรพิการ หรือการโพสต์ขอรับบริจาคนำเงินไปจ่ายค่ารักษาพยาบาลของ สุนัขจรจัดที่เกิดอุบัติเหตุ หรือการขายโพสต์ผ้าดิบห่อศพผืนละ 100 บาท โดยผู้ขายจะนำผ้าดิบ ไปบริจาคร่วมทำบุญให้กับโรงพยาบาลอีกทอดหนึ่ง เป็นต้น กรณีเหล่านี้จะถือว่าเป็นการเรี่ยไรหรือไม่ เมื่อเปรียบเทียบกฎหมายต่างประเทศ ในสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์แห่งดูไบ ตามพระราช กฤษฎีกาฉบับที่ (9) ปี 2015 ว่าด้วยการควบคุมการบริจาคเงิน ได้กำหนดบทนิยาม “การบริจาค” หมายความว่า การมอบทรัพย์สินให้ผู้อื่นโดยสมัครใจ เพื่อวัตถุประสงค์เป็นการกุศล ความเมตตา ความช่วยเหลือ หรือความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ รวมทั้งซะกาต และการให้ทาน จะเห็นได้ว่าคำจำกัดความ ของ “การบริจาค” ภายใต้กฎหมายดังกล่าว มีความหมายอย่างกว้างและครอบคลุมถึงการดำเนินการ รวบรวมการระดมทุนหรือขอรับบริจาคของภาครัฐและเอกชน ไม่ว่าจะกระทำโดยนิติบุคคลหรือ องค์กรที่ไม่แสวงหาผลกำไร หรือร่วมกับสมาคมการกุศล IACAD ที่จดทะเบียนแล้ว ส่วนการขอรับ บริจาคส่วนตัวตามกฎหมายใหม่ยังไม่มีข้อกำหนด จึงไม่จำเป็นต้องขออนุญาต ตราบใดที่ไม่เป็นการ เรียกร้องขอรับบริจาคจากสาธารณะ ส่วนสาธารณรัฐสิงคโปร์ ไม่ได้ให้ความหมายของคำนิยามการขอรับบริจาค แต่ให้ ความหมายการระดมทุน ซึ่งหมายความว่า การเรียกร้องโดยบุคคลใด ๆ ไม่ว่าจะโดยชัดแจ้งหรือโดย ปริยาย เพื่อขอรับเงินหรือทรัพย์สินอื่น โดยรับรองว่าเงินหรือทรัพย์สินทั้งหมดหรือบางส่วน หรือ ดำเนินการหรือ ผลตอบแทนจากเงินหรือทรัพย์สินจะถูกนำไปใช้เพื่อการกุศลใด ๆ และยังหมายความ ถึงการรับเงินหรือทรัพย์สินอื่นใดจากบุคคลใด ไม่ว่าจะมอบให้ทั้งหมดหรือบางส่วน เพื่อวัตถุประสงค์ ด้านการกุศล ความเมตตากรุณา หรือเพื่อการกุศลเท่านั้น ดังนั้น จะเห็นได้ว่าบทนิยามของการเรี่ยไรแห่งพระราชบัญญัติควบคุมการเรี่ยไร พุทธศักราช 2487 ไม่ได้กำหนดคำจำกัดความไว้อย่างชัดเจนหรือไม่สอดคล้องกับข้อเท็จจริงใน ปัจจุบันที่มีการใช้สื่อสังคมออนไลน์เป็นสื่อกลางเผยแพร่ข้อมูลเป็นไปอย่างกว้างขวางและรวดเร็ว และ มีรูปแบบที่หลากหลาย ซึ่งแตกต่างจากกฎหมายต่างประเทศ จะเห็นว่าในสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ กำหนดจุดมุ่งหมายวัตถุประสงค์ของการบริจาคเพียงเพื่อการกุศล ช่วยเหลือ เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ส่วนสาธารณรัฐสิงคโปร์มุ่งให้ความหมายลักษณะของการกระทำ การรวบรวมการระดมทุน การเรียกร้องขอรับเงินหรือทรัพย์สินเพื่อวัตถุประสงค์ด้านการกุศล ความเมตตากรุณา หรือเพื่อการ กุศลเท่านั้น แต่กฎหมายไทยกำหนดวัตถุประสงค์ของรวบรวมทรัพย์สินที่ได้มาเพื่อนำไปใช้ในกิจการ อย่างใดอย่างหนึ่ง ซึ่งกำหนดไว้กว้างมากเกินไป
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3