2566-1 นางสาวพัชราภรณ์ เรืองเพ็ง-การค้นคว้าอิสระ

65 วัตถุประสงค์เพื่อการใดก็ตาม โดยไม่ได้รับอนุญาตจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง กล่าวคือ หากเป็นการ ระดมทุนผ่านการรวบรวมสาธารณะจากบ้านสู่บ้านหรือการเรี่ยไรตามท้องถนนสามารถดำเนินการได้ก็ ต่อเมื่อได้รับใบอนุญาต HHSC จากผู้บัญชาการตำรวจ ตามพระราชบัญญัติการเรี่ยไรเงินตามบ้านและ ตามท้องถนน แต่หากเป็นการระดมทุนจากเพื่อน ครอบครัว หรือญาติพี่น้อง จะไม่อยู่ภายใต้การ บังคับของพระราชบัญญัติการเรี่ยไรเงินตามบ้านและตามท้องถนน นอกจากนี้ พบว่าในสิงคโปร์ใช้ วิธีการระดมทุนผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์ (Crowdfunding) เป็นวิธีการเรี่ยไรหรือการขอรับบริจาค ด้วยวัตถุประสงค์เป็นการกุศลหรือเพื่อการอย่างอื่น โดยแพลตฟอร์มการระดมทุนนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อสร้างความมั่นใจถึงความโปร่งใสและความรับผิดชอบการระดมทุนที่ระดมผ่านแพลตฟอร์ม และ บังคับต้องนำหลักปฏิบัติสำหรับการระดมทุนเพื่อการกุศลออนไลน์มาใช้ แต่อย่างไรก็ตามในปัจจุบัน ในสิงคโปร์ยังไม่มีกฎหมายหรืออำนาจควบคุมการระดมทุนผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์ จากผลการสัมภาษณ์เชิงลึก กลุ่มเจ้าหน้าที่ของรัฐผู้มีอำนาจอนุญาตให้ทำการขอรับ บริจาคหรือทำการเรี่ยไร และเจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจหน้าที่ในการดำเนินการเกี่ยวกับการป้องกันและ ปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยี ในประเด็นที่ว่าตามพระราชบัญญัติควบคุมการเรี่ยไร พุทธศักราช 2487 ที่บังคับใช้ในปัจจุบันมีความเหมาะสมและครอบคลุมบังคับถึงการขอรับบริจาคเงิน ผ่านสื่อสังคมออนไลน์หรือไม่อย่างไร ซึ่งเจ้าหน้าที่มีความเห็นที่สอดคล้องกัน คือ กฎหมายควบคุมการ เรี่ยไรฉบับล่าสุดถูกใช้บังคับมาตั้งแต่ พ.ศ. 2487 โดยมิได้ถูกแก้ไขเพิ่มเติม ทำให้บทบัญญัติแห่ง กฎหมายไม่สอดคล้องและครอบคลุมถึงรูปแบบการเรี่ยไรทั้งหมดในปัจจุบัน โดยรูปแบบการเรี่ยไรโดย การโฆษณาตามมาตรา 8 นั้น จำกัดความไว้แต่เพียงการโฆษณาด้วยสิ่งพิมพ์ วิทยุกระจายเสียง หรือ เครื่องเปล่งเสียงเท่านั้น มิได้หมายความรวมถึง “การเรี่ยไรผ่านสื่อออนไลน์” ทำให้ในปัจจุบันมีการ ดำเนินการอย่างแพร่หลายโดยมิได้อยู่ภายใต้การควบคุมของรัฐ และการตรวจสอบผู้ทำการเรี่ยไรนั้น ทำได้โดยยากลำบาก อันอาจเป็นช่องทางให้มิจฉาชีพอาศัยช่องโหว่แห่งกฎหมายเพื่อแสวงหา ประโยชน์แก่ตนเอง สรุปจากการศึกษาพบว่าขอรับบริจาคหรือการเรี่ยไรเงินผ่านสื่อสังคมออนไลน์ ไม่ใช่ กรณีการเรี่ยไรตามมาตรา 8 แห่งพระราชบัญญัติควบคุมการเรี่ยไร พุทธศักราช 2487 ทำให้ใน ปัจจุบันสามารถพบเห็นการขอรับบริจาคเงินผ่านสื่อสังคมออนไลน์มากมาย เพราะการนำเข้าข้อมูล ทำได้อย่างง่ายดาย เพียงเวลาพริบตาเดียวก็สามารถมียอดรับบริจาคได้ในหลักแสนหรือหลักล้านบาท อีกทั้งในปัจจุบันไม่มีกฎหมายที่ควบคุมการขอรับบริจาคเงินผ่านช่องทางนี้เป็นการเฉพาะ ไม่มีการ บังคับควบคุมกรณีการขอรับบริจาคเงินที่แสดงข้อมูลจริง แต่ยอดการรับบริจาคมากเกินวัตถุประสงค์ ที่ขอรับตั้งแต่ต้น ไม่มีหน่วยงานตรวจสอบการนำเอาเงินไปใช้ตามวัตถุประสงค์ที่แจ้งไว้ตั้งแต่ต้น หรือไม่ หรือการแสดงบัญชีรายรับรายจ่าย ตลอดจนถึงการควบคุมหลังปิดรับบริจาคไปแล้ว ดังนั้น จึงควรกำหนดลักษณะวิธีการขอรับบริจาคหรือการเรี่ยไรโดยใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ ทั้งในรูปแบบผ่าน

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3