2566-1 นางสาวพัชราภรณ์ เรืองเพ็ง-การค้นคว้าอิสระ

66 สื่อสังคมออนไลน์ หรือแพลตฟอร์มบริจาคออนไลน์ที่นิยมในปัจจุบัน หรือรูปแบบใด ๆ ให้ถูกบังคับ อยู่ภายใต้กฎหมายและการควบคุมจากรัฐ 4.3.3 การควบคุมกำกับดูแลของภาครัฐ เมื่อวิเคราะห์ถึงปัญหาการควบคุมกำกับดูแลของการขอรับบริจาค ในประเทศไทย ไม่รวมถึงมูลนิธิที่มีกฎหมายบังคับใช้อยู่แล้วนั้น พบว่าเป็นภารกิจของกระทรวงมหาดไทยที่ต้อง รับผิดชอบ โดยกำหนดให้อำนาจหน้าที่แก่คณะกรรมการควบคุมการเรี่ยไรและพนักงานเจ้าหน้าที่ ตามมาตรา 9 และมาตรา 10 แห่งพระราชบัญญัติควบคุมการเรี่ยไร พุทธศักราช 2487 การเรี่ยไรบนถนนหลวงหรือในที่สาธารณะ หรือโฆษณาด้วยสิ่งพิมพ์ วิทยุกระจายเสียง หรือด้วยเครื่องเปล่งเสียง ซึ่งจะต้องได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ ในปัจจุบันจะต้องขออนุญาต ตามเขตท้องที่ กล่าวคือ สำหรับเขตกรุงเทพมหานคร จะต้องยื่นต่ออธิบดีกรมการปกครอง ส่วน จังหวัดอื่นให้ยื่นต่อนายอำเภอ ซึ่งได้ให้อำนาจไว้เพียงแค่การสั่งอนุญาตหรือสั่งไม่อนุญาต กำหนด ระยะเวลาที่ต้องแจ้งแสดงเหตุผลกรณีสั่งไม่อนุญาต และการกำหนดเงื่อนไขของการทำการเรี่ยไร เท่านั้น กล่าวคือ ไม่ได้บัญญัติอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการกำกับดูแล ติดตาม เพื่อให้การขอรับบริจาค นั้นเป็นไปในช่องทางที่ถูกต้อง ตามวัตถุประสงค์ หรืออำนาจการสอดส่องตรวจสอบกิจกรรมเหล่านั้น เมื่อเปรียบเทียบกฎหมายต่างประเทศ เนื่องจากสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ไม่อนุญาตให้ บุคคลธรรมดาเป็นผู้ทำการขอรับบริจาคเอง แต่สามารถทำการกุศลในสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ได้โดย การจัดตั้งองค์กรบริจาคเพื่อการกุศลและระดมทุน เป็นอาสาสมัคร จ่ายซะกาต และสนับสนุนบุคคล ได้ ส่วนนิติบุคคลต้องได้รับอนุญาตจากหน่วยงานที่มีอำนาจให้รวบรวมเงินบริจาค และต้องดำเนินการ ระดมทุนผ่านองค์กรการกุศลที่ได้รับใบอนุญาตแห่งใดแห่งหนึ่งในสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ การควบคุม กำกับดูแลของการขอรับบริจาคจึงควบคุมได้ง่ายและมีการกระจายอำนาจในการควบคุมดูแลให้หลาย หน่วยงานของรัฐบาลโดยแยกตามประเภทของงาน กล่าวคือ งานสังคม งานการกุศล และงานด้าน มนุษยธรรมทั้งภายในและภายนอกประเทศ เช่น กระทรวงการพัฒนาชุมชน กระทรวงการ ต่างประเทศและความร่วมมือระหว่างประเทศ กองทุนซะกาต หน่วยงานบริหารจัดการเหตุฉุกเฉิน และภัยพิบัติแห่งชาติ หน่วยงานทั่วไปของกิจการอิสลามและการบริจาค กรมกิจการอิสลามและ กิจกรรมสาธารณกุศล และสำนักงานพัฒนาชุมชน เป็นต้น ซึ่งหน่วยงานผู้กำกับดูแลสมาคมหรือ องค์กรที่ไม่แสวงหากำไรในสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ยังครอบคลุมไปถึงหน่วยงานของท้องถิ่นมีอำนาจ หน้าที่รับผิดชอบในการกำกับดูแลและควบคุมสมาคมและองค์กรพัฒนาเอกชนที่ไม่แสวงหาผลกำไร ผ่านการดำเนินการตรวจเยี่ยมภาคสนาม เพื่อให้มั่นใจถึงการดำเนินการว่าไม่แสวงหาผลกำไร ส่วนใน เมืองดูไบ หน่วยงานที่มีอำนาจ คือ กระทรวงการพัฒนาชุมชนและกรมกิจการอิสลามและกิจกรรม สาธารณกุศล (IACAD) โดยอำนาจและหน้าที่ของ IACAD นอกจากจะพิจารณาคำขออนุญาตระดมทุน หรือรับบริจาค แล้วยังมีหน้าที่การสนับสนุน และส่งเสริมให้ประชาชนบริจาค กำกับดูแลและควบคุม

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3