2566-1 นางสาวพัชราภรณ์ เรืองเพ็ง-การค้นคว้าอิสระ
69 ทางอินเทอร์เน็ตได้ เพื่อเป็นการอำนวยความสะดวกแก่ประชาชนและสามารถควบคุมการเรี่ยไรได้ มากขึ้น ส่งผลให้การขออนุญาตทำการเรี่ยไรหรือขอรับบริจาคล่าช้า หรือผู้ทำการเรี่ยไรหรือขอรับ บริจาคหลีกเลี่ยงการปฏิบัติตามกฎหมายเพราะเหตุความยุ่งยาก ซับซ้อน ไม่อำนวยความสะดวกต่อ ประชาชน อีกทั้งการขอรับบริจาคเงินของเอกชนนั้น บทบัญญัติของกฎหมายเปิดโอกาสให้บุคคล ธรรมดาสามารถกระทำการขอรับบริจาคเพื่อนำเงินไปใช้กับวัตถุประสงค์ในทางกิจกรรมอย่างใดอย่าง หนึ่งได้อย่างอิสระ ประกอบกับการขอรับบริจาคที่กระทำโดยผ่านสื่อสังคมออนไลน์ ยิ่งทำให้ยากต่อ การควบคุมกำกับดูแล ดังนั้น ควรกำหนดห้ามไม่ให้บุคคลธรรมดาเป็นผู้รวบรวมเงินบริจาคหรือดำเนิน กิจกรรมหาทุนใด ๆ ด้วยตนเองโดยตรง แต่ควรกระทำผ่านรูปแบบองค์กร นิติบุคคลหรือหน่วยงานที่ รับผิดชอบต่อสังคมที่ได้รับใบอนุญาตให้ทำการรับบริจาคหรือกิจกรรมการกุศลหรือกิจกรรมช่วยเหลือ สังคมด้านต่าง ๆ อีกทั้งกฎหมายควรบัญญัติให้อำนาจหน้าที่แก่พนักงานเจ้าหน้าที่ที่จะกำหนดเงื่อนไข ในการกำกับดูแล ติดตาม และเพิ่มหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องกับงานสังคมสงเคราะห์ งานการกุศล และงานด้านมนุษยธรรม เป็นต้น 4.3.4 บทกำหนดโทษ บทกำหนดโทษของพระราชบัญญัติควบคุมการเรี่ยไร พุทธศักราช 2487 ได้แก่ มาตรา 17, มาตรา 18, มาตรา 19 และมาตรา 20 ซึ่งทั้งสี่มาตราดังกล่าว เป็นโทษทางอาญาอย่างเดียว และ เป็นโทษที่มีอัตราโทษสถานเบา กล่าวคือ มีโทษปรับตั้งแต่ 200 บาท ถึง 1,000 บาท หรือจำคุกตั้งแต่ 1 เดือน ถึง 1 ปี หรือทั้งจำทั้งปรับ อาจทำให้มิจฉาชีพขาดความเกรงกลัวต่อบทกฎหมายหรืออาจเห็น ว่าผลประโยชน์ที่จะได้จากการกระทำฝ่าฝืนกฎหมายมีมากกว่าโทษที่จะได้รับตามกฎหมาย เช่น ทำการเรี่ยไรโดยไม่ได้ขออนุญาตพนักงานเจ้าหน้าที่ ตามมาตรา 8 แต่ยอดการเรี่ยไรได้เงิน 1 ล้านบาท มีความผิดต้องระวางโทษเพียงปรับไม่เกิน 200 บาท หรือจำคุกไม่เกิน 1 เดือน หรือทั้งปรับทั้งจำคุก หากถูกการดำเนินการคดีตามกฎหมาย ทรัพย์สินที่ได้รับจากการขอรับบริจาคอาจนำไปใช้จ่ายและ ยากเกินกว่าจะติดตามคืนมาได้ทั้งหมด ซึ่งไม่สัมพันธ์กับความร้ายแรงในการกระทำความผิดและความ เสียหายที่เกิดขึ้น จากการสัมภาษณ์กลุ่มเจ้าหน้าที่ของรัฐ ได้แก่ เจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจอนุญาตให้ทำการ ขอรับบริจาคหรือทำการเรี่ยไร 2) เจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจหน้าที่ในการดำเนินการเกี่ยวกับการป้องกัน และปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยี 3) นิติกรหรือผู้ปฏิบัติงานทางด้านกฎหมาย ซึ่งเป็นผู้ใช้ กฎหมายมีความเห็นที่สอดคล้องกัน คือ บทลงโทษของผู้ที่ฝ่าฝืนพระราชบัญญัติควบคุมการเรี่ยไร เป็นโทษสถานเบา เพียงโทษปรับไม่เกิน 1,000 บาท หรือจำคุกไม่เกิน 1 ปี นั้น ไม่อาจเพียงพอต่อการ ควบคุมการเรี่ยไรให้มีประสิทธิภาพ อีกทั้งในปัจจุบันพนักงานสอบสวนฝ่ายปกครองในฐานะ เจ้าพนักงานตามกฎหมายควบคุมการเรี่ยไรมุ่งเน้นไปที่ประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนทราบถึงหลักเกณฑ์ และขั้นตอนในการขออนุญาตทำการเรี่ยไรให้ถูกต้องตามกฎหมายมากกว่าการกวดขันจับกุมเชิงรุก
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3