2566-1 นางสาวพัชราภรณ์ เรืองเพ็ง-การค้นคว้าอิสระ
70 แต่อย่างไรก็แล้วแต่เจ้าหน้าที่ของรัฐยังยืนยันว่าผู้กระทำการฝ่าฝืนกฎหมายพนักงานสอบสวน ฝ่ายปกครองก็มีอำนาจในการดำเนินคดีอาญาในความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ได้ แต่หากมีการขอรับ บริจาคผ่านทางสื่อออนไลน์ที่มีการหลอกลวงย่อมเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญาฐาน ความผิด “ฉ้อโกงประชาชน” ในลักษณะซึ่งมีผู้สามารถเข้าถึงได้เป็นจำนวนมาก และมีความผิดฐาน นำเข้าข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่บิดเบือนหรือปลอมหรือเป็นเท็จ ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำ ความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 ประกอบกับจากการที่ความผิดฐานฉ้อโกงประชาชนเป็น ความผิดมูลฐานตามพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. 2542 ดังนั้น ทรัพย์สิน ที่ได้จากการเรี่ยไรดังกล่าว หากมิได้จัดการอย่างถูกต้องตามกฎหมาย หรือมีการปกปิด โยกย้าย ซ่อน เร้น อำพราง หรือเปลี่ยนสภาพไปนอกเหนือจากวัตถุประสงค์ของการเรี่ยไร และมีมูลค่าเป็นไปตามที่ กฎหมายกำหนด ผู้ทำการเรี่ยไรอาจผิดความผิดฐานฟอกเงินอีกฐานความผิดหนึ่ง ซึ่งมีบทลงโทษที่สูง พอสมควรกับการกระทำความผิด และเป็นอีกช่องทางในการบังคับควบคุมการผู้ขอรับบริจาคผ่านทาง สื่อออนไลน์ที่มีการหลอกลวงต่อประชาชน เมื่อเปรียบเทียบบทลงโทษของกฎหมายต่างประเทศ ทั้ง 2 ประเทศ พบว่ามีความ แตกต่างจากประเทศไทย กล่าวคือ เนื่องจากในสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ มีบทลงโทษเกี่ยวกับการขอรับ บริจาคหรือการระดมทุนเงินบริจาค ทั้งโทษทางอาญา และทางปกครอง สำหรับโทษทางอาญา การขอรับบริจาคที่ไม่ได้รับอนุญาต โดยบุคคลธรรมดาหรือองค์กรที่ไม่ได้รับอนุญาตมีโทษจำคุกและ ปรับสถานหนัก ต้องระวางโทษจำคุกและปรับไม่น้อยกว่า 150,000 AED แต่ไม่เกิน 300,000 AED หรือรับโทษ 1 ใน 2 ทั้งนี้ไม่เป็นการกระทบกระเทือนต่อบทลงโทษที่รุนแรงกว่าที่กำหนดโดยกฎหมาย อื่น และให้ศาลสั่งริบเงินบริจาค และถ้าหากเงินบริจาคถูกนำไปใช้เพื่อวัตถุประสงค์อื่นนอกเหนือจาก วัตถุประสงค์ในการขอรับบริจาค ระวางโทษปรับตั้งแต่ 200,000 ถึง 500,000 AED ส่วนกฎหมาย การระดมทุนเงินบริจาคของดูไบกำหนดบทลงโทษต่อบุคคลที่รวบรวมเงินบริจาคอย่างผิดกฎหมาย โดยลงโทษการจำคุกไม่น้อยกว่า 1 เดือน แต่ไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่น้อยกว่า 5,000 AED แต่ไม่เกิน 100,000 AED หรือทั้งจำทั้งปรับ และศาลยังมีอำนาจสั่งริบเงินบริจาคที่ได้มาจากการฝ่าฝืนบท กฎหมาย หรือให้เงินบริจาคตามมติที่ IACAD กำหนดวิธีการจัดการเงินบริจาคและหน่วยงานที่จะโอน อันมีวัตถุประสงค์อื่น นอกจากนี้บุคคลใดที่บริจาคให้กับองค์กรการกุศลที่ไม่ได้จดทะเบียนหรือกลุ่ม ระดมทุนผ่านทางออนไลน์ อาจจะทำให้ตนเองเสี่ยงต่อการก่ออาชญากรรมทางไซเบอร์ ซึ่งอาจถูก ลงโทษจำคุก 3 ปี หรือปรับสูงสุด 500,000 AED สำหรับโทษทางปกครอง IACAD ยังมีอำนาจออก คำสั่งผู้ฝ่าฝืนบทบัญญัติดังกล่าวได้ ดังนี้ 1) ออกคำเตือนเป็นลายลักษณ์อักษรถึงผู้ฝ่าฝืนไม่ให้กระทำ ผิดซ้ำอีก 2) สั่งให้ผู้ละเมิดชดใช้เงินสองเท่าของจำนวนเงินที่บริจาค 3) สั่งปิดสถานที่ระดมทุนเป็น ระยะเวลาสูงสุดหนึ่งปี นอกจากนี้ IACAD ยังสามารถระงับหรือปิดบัญชีธนาคารที่เปิดรับบริจาคและ โอนเงินบริจาคทั้งหมดไปยัง IACAD ได้อีกด้วย
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3