2566-1 นางสาวพัชราภรณ์ เรืองเพ็ง-การค้นคว้าอิสระ

74 ควบคุมและป้องกันไม่ให้มีการดำเนินกิจกรรมการเรี่ยไรหรือขอรับบริจาคที่อาจจะสร้างความ เดือดร้อนให้แก่ประชาชนหรือความไม่สงบขึ้นในสังคม แต่เนื่องจากบทบัญญัติกฎหมายที่บังคับใช้มา เป็นเวลานานโดยที่ไม่ได้มีการแก้ไขปรับปรุงให้มีความสอดคล้องกับสภาวการณ์ในปัจจุบัน ทำให้ กฎหมายดังกล่าวมีข้อบกพร่อง ซึ่งสรุปได้ดังนี้ 1. บทนิยาม บทนิยามตามมาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติควบคุมการเรี่ยไร พุทธศักราช 2487 “การ เรี่ยไร” หมายความรวมตลอดถึงการซื้อขาย แลกเปลี่ยนชดใช้ หรือบริการซึ่งมีการแสดงโดยตรงหรือ โดยปริยาย ว่ามิใช่เป็นการซื้อขาย แลกเปลี่ยน ชดใช้ หรือบริการธรรมดา แต่เพื่อรวบรวมทรัพย์สินที่ ได้มาทั้งหมดหรือบางส่วนไปใช้ในกิจการอย่างใดอย่างหนึ่งด้วย” ที่ไม่ได้มีการอธิบายยกตัวอย่าง และ ไม่ได้ให้ความหมายหรือคำจำกัดความไว้อย่างชัดเจน ซึ่งนำไปสู่ปัญหาในทางปฏิบัติของพนักงาน เจ้าหน้าที่และการตีความกฎหมายว่าการกระทำในลักษณะใดที่จะเข้าลักษณะการเรี่ยไรตามกฎหมาย ดังกล่าว และจะต้องมีการขออนุญาตต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ และจากการศึกษาพบว่าในปัจจุบันจะใช้ คำว่า “ขอรับบริจาค” มากกว่าการใช้คำว่า “เรี่ยไร” อันมีความหมายเดียวกัน เนื่องจากภาษาหรือ คำพูดที่ใช้ได้มีการเปลี่ยนแปลงตามสังคม ทั้งการพัฒนารูปแบบโดยวิธีที่ทันสมัยและใช้เครื่องมือ เทคโนโลยีเป็นสื่อกลางกระจายข้อมูลข่าวสาร เพื่อเผยแพร่ข้อมูลขอรับบริจาคเงินในลักษณะการขอ ความช่วยเหลือหรือเชิญชวนในลักษณะร่วมให้ทำบุญผ่านทางสื่อสังคมออนไลน์ (Social Media) ส่งผลให้บทนิยามคำว่า “การเรี่ยไร” แห่งพระราชบัญญัติควบคุมการเรี่ยไร พุทธศักราช 2487 ไม่ได้ กำหนดคำจำกัดความไว้อย่างชัดเจนหรือไม่สอดคล้องกับข้อเท็จจริงในปัจจุบันที่มีการใช้สื่อสังคม ออนไลน์เป็นสื่อกลางเผยแพร่ข้อมูลเป็นไปอย่างกว้างขวางและรวดเร็ว และมีรูปแบบที่หลากหลาย 2. ลักษณะของการเรี่ยไรที่ต้องขออนุญาต จากการศึกษาพบว่า การขอรับบริจาคหรือการเรี่ยไรเงินผ่านสื่อสังคมออนไลน์โดย ภาคเอกชน ไม่ใช่วิธีลักษณะการเรี่ยไรที่จะจัดให้มีหรือทำได้ต่อเมื่อได้รับอนุญาตจากพนักงาน เจ้าหน้าที่ไว้ในบทบัญญัติมาตรา 8 แห่งพระราชบัญญัติควบคุมการเรี่ยไร พุทธศักราช 2487 กล่าวคือ ไม่เป็นการเรี่ยไรบนถนนหลวงหรือในที่สาธารณะ หรือโฆษณาด้วยสิ่งพิมพ์ วิทยุกระจายเสียง หรือ ด้วยเครื่องเปล่งเสียง ดังนั้น การขอรับบริจาคเงินหรือเรี่ยไรในลักษณะวิธีใช้สื่อสังคมออนไลน์เป็น สื่อกลางที่ปรากฏตามสื่อโซเชียลมีเดียต่าง ๆ นั้น ไม่เข้าหลักเกณฑ์ตามพระราชบัญญัติควบคุมการ เรี่ยไร จึงไม่จำเป็นต้องขออนุญาตจากคณะกรรมการควบคุมการเรี่ยไร หรือพนักงานเจ้าหน้าที่ ส่งผล ให้ไม่มีหน่วยงานใดตรวจสอบข้อมูลหรือควบคุมให้ถูกต้องตามหลักเกณฑ์และกำกับดูแลให้เป็นไปตาม วัตถุประสงค์ของผู้บริจาคเงินอย่างเคร่งครัดหรือเป็นระบบมาตรฐานในการตรวจสอบ ทำให้ใน ปัจจุบันสามารถพบเห็นการขอรับบริจาคเงินผ่านสื่อสังคมออนไลน์มากมาย เพราะการนำเข้าข้อมูล

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3