2566-1 นางสาวพัชราภรณ์ เรืองเพ็ง-การค้นคว้าอิสระ

77 หน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องกับงานสังคมสงเคราะห์ งานการกุศล และงานด้านมนุษยธรรม เป็นต้น อย่างเช่นเดียวกับกฎหมายต่างประเทศ โดยดำเนินการร่วมมือกับกระทรวงมหาดไทยเพื่อให้การขอรับ บริจาคนั้นเป็นไปในช่องทางที่ถูกต้อง ตามวัตถุประสงค์ เงื่อนไข และมีอำนาจการสอดส่องตรวจสอบ กิจกรรมเหล่านั้น เพราะการติดตามบุคคลที่ดำเนินการบริจาคมีความสำคัญมาก ถือว่าเป็นการปกป้อง เงินของผู้บริจาค ให้ถูกนำไปใช้ตามเจตนารมณ์ของการบริจาค และปราศจากการทุจริต 4. บทกำหนดโทษ บทกำหนดโทษของพระราชบัญญัติควบคุมการเรี่ยไร พุทธศักราช 2487 ทั้ง 4 มาตรา ได้แก่ มาตรา 17, มาตรา 18, มาตรา 19 และมาตรา 20 เป็นโทษทางอาญาเท่านั้นและมีอัตราโทษ สถานเบามากเกินไป คือ ปรับสูงสุดเพียง 1,000 บาท หรือจำคุกสูงสุด 1 ปี หรือทั้งจำทั้งปรับ เนื่องจากสภาพเศรษฐกิจของสังคมและค่าเงินบาทได้เปลี่ยนไปมาก โทษปรับที่บัญญัติไว้จึงไม่ เหมาะสม เมื่อเปรียบเทียบกับความเสียหายที่อาจเกิดขึ้น มีโทษจำคุกสูงแต่กลับมีโทษปรับน้อยไม่ เหมาะสมกับความร้ายแรงของการกระทำความผิดนั้น ๆ ซึ่งอาจทำให้ผู้ขอรับบริจาคหรือมิจฉาชีพขาด ความเกรงกลัวต่อบทกฎหมายดังกล่าวหรืออาจเห็นว่าผลประโยชน์ที่จะได้จากการกระทำฝ่าฝืน กฎหมายมีมากกว่าโทษที่จะได้รับตามกฎหมาย อีกทั้ง ในปัจจุบันการขอรับบริจาคผ่านสื่อสังคม ออนไลน์เป็นที่นิยมอย่างมาก และมีลักษณะวิธีการขอรับบริจาคที่หลากหลาย แม้ว่าหากมีการขอรับ บริจาคผ่านทางสื่อออนไลน์ที่มีการหลอกลวงหรือทุจริต สามารถหยิบยกกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้องกับ การกระทำความผิดนั้น ๆ มาบังคับใช้ได้อันเป็นอีกช่องทางในการบังคับควบคุมการผู้ขอรับบริจาค ผ่านทางสื่อออนไลน์ที่มีการหลอกลวงต่อประชาชน เช่น ประมวลกฎหมายอาญาในฐานความผิด ฉ้อโกงประชาชน หรือพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 หรือพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. 2542 ซึ่งมีบทลงโทษที่สูงพอสมควรกับ การกระทำความผิด แต่ถ้าหากเป็นการกระทำโดยสุจริต มีเจตนาจะนำเงินที่ได้รับไปใช้ตาม วัตถุประสงค์จริงก็ไม่อยู่ภายใต้บังคับของพระราชบัญญัติการควบคุมการเรี่ยไร ทำให้ขาดหน่วยงาน หรือพนักงานเจ้าหน้าที่ที่จะต้องเข้าไปตรวจสอบควบคุมการดำเนินการใด ๆ ของกิจกรรมนั้นทั้งก่อน และหลังได้ ดังนั้น ในประเด็นบทลงโทษตามพระราชบัญญัติควบคุมการเรี่ยไร มีความจำเป็นอย่างยิ่ง ที่จะต้องแก้ไขปรับปรุงบทลงโทษให้โทษมีสถานหนักขึ้นเช่นเดียวกับกฎหมายต่างประเทศที่ผู้วิจัยได้ ทำการศึกษา เพื่อให้มีความสอดคล้องสัมพันธ์กับสภาพเศรษฐกิจ มีการลงโทษและการควบคุมการ ขอรับบริจาคเป็นไปอย่างเหมาะสม มีประสิทธิภาพมากที่สุด และเพื่อเป็นการป้องกันมิให้เกิดการ เรี่ยไรที่มีในลักษณะหลอกลวงประชาชนหรือการเรี่ยไรโดยไม่ได้รับอนุญาต พยายามหลีกเลี่ยง กฎหมาย โดยไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขวัตถุประสงค์หรือตามเจตนารมณ์ของผู้บริจาคเงินหรือทรัพย์สิน และสร้างความเดือดร้อนรำคาญให้แก่ประชาชน สร้างความไม่สงบเรียบร้อยในสังคม

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3