2566-1 นางสาวพัชราภรณ์ เรืองเพ็ง-การค้นคว้าอิสระ
78 5.3 ข้อเสนอแนะ การขอรับบริจาคผ่านสื่อสังคมออนไลน์ เป็นรูปแบบของการขอรับบริจาคที่พัฒนาขึ้นใหม่ ในยุคสมัยปัจจุบัน ซึ่งภาครัฐยังไม่ได้ให้ความสนใจหรือเข้ามาแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น โดยที่ผ่านมานั้น จะเน้นไปแก้ปัญหาที่ปลายเหตุ กล่าวคือ การดำเนินคดีกับผู้กระทำความผิดซึ่งหลอกลวงก่อให้เกิด ความเสียหายแก่ประชาชนหรือนำเงินที่ได้มานั้นไปใช้ผิดวัตถุประสงค์ และการติดตามทรัพย์สินที่ บริจาคไปแล้วคืนกลับมา ซึ่งไม่สามารถติดตามได้ทั้งหมดและไม่สามารถเยียวยาความเสียหายต่อ ประชาชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ ดังนั้น เพื่อให้การบังคับใช้ตามพระราชบัญญัติควบคุมการเรี่ยไร เป็นไปตามเจตนารมณ์ของกฎหมาย บทบัญญัติของกฎหมายสอดคล้องกับสภาวการณ์ในปัจจุบันและ สามารถยับยั้งหรือป้องกันการทุจริตและปราบปรามผู้กระทำความผิดได้อย่างมีประสิทธิภาพ ผู้วิจัยจึง ขอเสนอแนวทางในการพัฒนากฎหมายควบคุมการขอรับบริจาคเงินผ่านสื่อสังคมออนไลน์ ดังนี้ ประการที่ 1 บทนิยาม คำว่า “การเรี่ยไร” ตามมาตรา 4 ควรมีการแก้ไขปรับปรุง พระราชบัญญัติควบคุมการเรี่ยไร พุทธศักราช 2487 ให้มีความหมายชัดเจนยิ่งขึ้นสอดคล้องกับ ข้อเท็จจริงในปัจจุบันที่มีการใช้สื่อสังคมออนไลน์เป็นสื่อกลางเผยแพร่ข้อมูลเป็นไปอย่างกว้างขวาง และรวดเร็ว และมีรูปแบบที่หลากหลาย เพื่ออุดช่องว่างของกฎหมายดังกล่าว เนื่องจากกฎหมายได้ บังคับใช้มาเป็นระยะเวลายาวนาน ภาษาหรือถ้อยคำที่ใช้จึงได้มีการเปลี่ยนแปลงตามไปด้วย โดยใน ปัจจุบันจะใช้คำว่า “ขอรับบริจาค” มากกว่าการใช้คำว่า “เรี่ยไร” อันมีความหมายเช่นเดียวกัน ดังนั้น ควรแก้ไขนิยามเป็น “การเรี่ยไร หมายถึง การขอรับบริจาค การเรียกร้องหรือ ขอรับความช่วยเหลือเป็นตัวเงินหรือทรัพย์สิน ตามความสมัครใจจากบุคคลใดบุคคลหนึ่งหรือ คณะบุคคล โดยมีเจตนาที่แท้จริงว่าจะนำเงินหรือทรัพย์สินที่ได้มาทั้งหมดหรือบางส่วนนั้นไปใช้เพื่อ การอย่างใดอย่างหนึ่ง มีวัตถุประสงค์เพื่อการช่วยเหลือ เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ การกุศล การทำบุญ หรือ การใด ๆ อันเป็นวัตถุประสงค์ที่ดี” ประการที่ 2 การกำหนดลักษณะวิธีของการเรี่ยไร สำหรับการขอรับบริจาคผ่านสื่อ สังคมออนไลน์ที่มีความสะดวกและรวดเร็ว ประชาชนทั่วไปสามารถเข้าถึงได้ง่าย อีกทั้งผู้บริจาคเงิน สามารถทำธุรกรรมทางการเงินผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ หรือมือถือได้อย่างรวดเร็ว ผู้ทำการขอรับ บริจาคสามารถมีรายได้เป็นจำนวนมากเพียงใช้เวลาไม่นานนั้น ผู้วิจัยเห็นว่า ควรกำหนดให้ผู้ประสงค์ ที่จะขอรับการบริจาคที่กระทำโดยผ่านสื่อสังคมออนไลน์ หรือรูปแบบของการสื่อสารอื่นใดก็ตาม อยู่ภายใต้บังคับของกฎหมายควบคุมการเรี่ยไร การจัดให้มีการขอรับบริจาคหรือกระทำการขอรับ บริจาคผ่านสื่อสังคมออนไลน์ได้ก็ต่อเมื่อได้รับการอนุมัติจากพนักงานเจ้าหน้าที่เท่านั้น จึงควรแก้ไขบทบัญญัติมาตรา 8 เป็น “การเรี่ยไรที่กระทำการในถนนหลวงหรือในที่ สาธารณะ หรือการเรี่ยไรโดยโฆษณาผ่านสื่อสิ่งพิมพ์ ด้วยวิทยุกระจายเสียง หรือด้วยเครื่องเปล่งเสียง
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3