2566-1 นางสาวพิชญ์สินี ใหม่คง-วิทยานิพนธ์

87 2.7 งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง งานวิจัยเรื่อง บทบาทของชุมชนในการแก้ไขปัญหาการใช้ความรุนแรงในครอบครัว กรณีศึกษา อำเภอหนองเรือ จังหวัดขอนแก่น ภานุพงษ์ ชูรัตน์ (2563) ศึกษาบทบาทของชุมชนในการดำเนินการ แก้ไขปัญหาความรุนแรงในครอบครัว ผลการวิจัยพบว่า ความรุนแรงในครอบครัวในพื้นที่ตำบลบ้าน ผือ อำเภอหนองเรือ จังหวัดขอนแก่น มีสาเหตุหลักมาจากการดื่มสุราและของมึนเมา การเสพยา เสพติด ปัญหาทางการเงินในครอบครัว และปัญหาเรื่องชู้สาว ทั้งนี้ชุมชนมีบทบาทในการแก้ไขปัญหา การใช้ความรุนแรงในครอบครัว โดยการมีกลุ่มอาสาสมัคร ซึ่งเป็นคนในชุมชนทำหน้าที่เป็นเครือข่าย ในการเฝ้าระวังปัญหาความรุนแรงในครอบครัวภายในชุมชน ทั้งอาสาสมัครและผู้นำชุมชน มีบทบาท เป็นผู้ไกล่เกลี่ยปัญหากับครอบครัวที่เกิดการใช้ความรุนแรงขึ้น เทศบาลตำบลมีบทบาทในการเป็น ผู้จัดกิจกรรมให้ค วาม รู้แก่คนในชุม ชน และกิจกรรมแก้ ไข ปัญห าความรุนแรงในครอบค รัว ซึ่งหน่วยงานในชุมชนมีการประสานงานร่วมกันอย่างเป็นระบบ เพื่อจัดการกับปัญหาความรุนแรงใน ครอบครัว ข้อเสนอแนะจากการวิจัยนี้แสดงให้เห็นถึงบทบาทของชุมชนที่เป็นจุดเริ่มต้นในการมีส่วน ร่วมดำเนินการแก้ไขปัญหาความรุนแรงในครอบครัว ท ำให้ปัญหาการใช้ความรุนแรงในครอบครัว ได้รับการแก้ไขได้เป็นอย่างดี งานวิจัยเรื่อง การแก้ปัญหาความรุนแรงในครอบครัวของไทย รัฐวิชญ์ อริยพัชญ์พล (2563) ศึกษาเกี่ยวกับสถานการณ์ปัญหาความรุนแรงในครอบครัวของไทยเพื่อนำเสนอแนวทางการแก้ปัญหา อันนำไปสู่กลยุทธ์การแก้ปัญหาความรุนแรงในครอบครัวของไทย ผลการวิจัยพบว่า ปัญหาและ การแก้ปัญหาความรุนแรงในครอบครัว ทางด้านกายภาพ การที่ผู้ชายทำร้ายผู้หญิง เนื่องจาก โครงสร้างอำนาจ ควรแก้ปัญหาโดยการรณรงค์เพิ่มความรู้เกี่ยวกับ ความรุนแรงเริ่มตั้งแต่ในครอบครัว ทางด้านเพศการล่วงละเมิดต่อร่างกาย การล่วงละเมิดทางเพศสภาพ ควรแก้ปัญหาโดยการให้ความรู้ แก่เด็ก ในเรื่องสำคัญที่ละเอียดอ่อน และควรปรับเปลี่ยนกฎหมายให้มีความสอดคล้องกับสถานการณ์ ทางสังคม ทางด้านจิตใจ การดุด่าใช้อำนาจทำร้ายจิตใจ ควรแก้ปัญหาโดยการสร้างค่านิยมที่ดีตั้งแต่ เด็ก ปลูกฝังการทำความดีให้เด็กตั้งแต่ในโรงเรียน ทางด้านสภาพการเงิน เกิดจากครอบครัวที่ยากจน การไม่ได้รับการเลี้ยงดูตามอัตภาพ ควรแก้ปัญหาโดยการสนับสนุนการสร้างอาชีพ การจัดหาแหล่ง เงินทุนดอกเบี้ยต่ำ ตลอดจนการสร้างเครือข่ายส่งเสริมสินค้าชุมชน โดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ควร กำหนดกลยุทธ์การแก้ปัญหาความรุนแรงได้ 5 กลยุทธ์ ได้แก่ 1) กลยุทธ์การสร้างเครือข่ายการพัฒนา สตรี 2) กลยุทธ์การพัฒนาตนเอง 3) กลยุทธ์การเรียนรู้เพื่อพัฒนาครอบครัว 4) กลยุทธ์การส่งเสริม พัฒนาชุมชนและสังคม 5) กลยุทธ์การพัฒนา และการบังคับใช้กฎหมาย งานวิจัย เรื่อง สื่อที่ทำให้ความรุนแรงในครอบครัวไทยลดลง ปิยฉัตร ล้อมชวการ (2564) นำเสนอเกี่ยวกับสื่อที่ทำให้ความรุนแรงในครอบครัวไทยลดลง ผลการวิจัยพบว่าประเด็นเกี่ยวกับ “วิธีปฏิบัติที่ดี” ( best practices) จะเน้นการทำงานเชิงบูรณาการ ทั้งการบูรณการสื่อที่ใช้ และ

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3