2566-1 นางสาวพิชญ์สินี ใหม่คง-วิทยานิพนธ์
88 การบูรณาการการทำงานร่วมกันกับทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง และโดยเฉพาะการเปิดกว้างให้ทุกฝ่ายเข้า ไปมีส่วนร่วมในการช่วยกันลดความรุนแรงในครอบครัว อีกทั้งการเน้นย้ำเรื่อง การเริ่มเป็นสื่อบุคคลที่ ดีด้วยตนเองทำหน้าที่ของตนเองในครอบครัว จากนั้นร่วมสอดส่องดูแลป้องกันด้วยการไม่ส่งเสริมการ เผยแพร่ หรือสนับสนุนสื่อที่ไม่ดี สื่อที่ไม่เหมาะสมสื่อที่รุนแรงต่าง ๆ อีกทั้งช่วยกันสร้างสรรค์สื่อดี ๆ ออกสู่สังคม งานวิจัยเรื่อง การเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนในการป้องกันความรุนแรงในครอบครัว ศิริปรียา ศิริสุนทร (2564) นำเสนอถึงกลไกในการป้องกันและแก้ปัญหาความรุนแรงในครอบครัวใน ระดับชุมชน และแนวทางในการเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนในการป้องกันความรุนแรงใน ครอบครัว ผลการวิจัยพบว่า กลไกในการป้องกันและแก้ปัญหาความรุนแรงในครอบครัวในระดับ ชุมชนนั้น มีศูนย์พัฒนาครอบครัวในชุมชน (ศพค.) เป็นองค์กรภาคประชาชน ถูกตั้งขึ้นเป็นศูนย์กลาง และกลไกในการเฝ้าระวัง ป้องกัน แก้ไขปัญหา ให้คำแนะนำและส่งเสริมการเรียนรู้ให้แก่ครอบครัว ควรนำกลยุทธ์ในการเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนในการป้องกันความรุนแรงใ นครอบครัว 4 ขั้นตอนมาปรับใช้ ดังนี้ ขั้นตอนที่ 1 : การประเมินชุมชน และสร้างความตระหนักให้เกิดขึ้น ขั้นตอนที่ 2 : การสร้างเครือข่าย ขั้นตอนที่ 3 : การปฏิบัติการป้องกันความรุนแรงในครอบครัว ขั้นตอนที่ 4 : การเสริมสร้างความเข้มแข็งของการปฏิบัติการต่าง ๆ เพื่อส ร้างกลไกและกระตุ้นให้เกิดปฏิสัมพันธ์ ของชุมชนในการป้องกันความรุนแรงในครอบครัวอย่างจริงจัง งานวิจัย เรื่อง สภาพปัญหาและแนวทางการป้องกันความรุนแรงในครอบครัวในจังหวัด ปทุมธานี: กรณีศึกษาช่วงสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคโควิด 19 เกียรติเฉลิม รักษ์งาม (2565) ศึกษาค้นคว้าถึงสาเหตุและสภาพปัญหาความรุนแรงในครอบครัวในช่วงมาตรการอยู่บ้านหยุดเชื้อ เพื่อชาติ สถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อโควิด -19 ในจังหวัดปทุมธานีและศึกษาแนวทางการ ป้องกันปัญหาการใช้ความรุนแรงในครอบครัว ผลการวิจัยพบว่า ความรุนแรงในครอบครัวช่วง สถานการณ์ระบาดของโรคโควิด 19 ส่วนใหญ่จะมีสาเหตุมาจากความเครียดจากปัญหาเศรษฐกิจใน ครอบครัว ความหึงหวง เมาสุรา ลักษณะความรุนแรงเป็นการทะเลาะกันระหว่างสามีภรรยา การทำ ร้ายร่างกาย เด็ก และการทำร้ายผู้สูงอายุที่อาศัยอยู่ด้วย แนวทางการป้องกันปัญหาความรุนแรงใน ครอบครัว ควรปรับกฎหมายที่เกี่ยวข้องให้มีความชัดเจน บูรณาการกระบวนการทำงานของเจ้าหน้าที่ เสริมสร้างความรู้ด้านการสอบสวนข้อเท็จจริง คนในชุมชนต้องช่วยกันดูแลคอยแจ้งเหตุ มีการจัดตั้ง ศูนย์พัฒนาครอบครัวในชุมชนสำหรับบริการให้ความช่วยเหลือดูแลปัญหาความรุนแรงในครอบครัว งานวิจัย เรื่อง ความรุนแรงในครอบครัวที่มีผลต่อความก้าวร้าวของเด็กใน 3 จังหวัดภาคใต้ ปานวลัย ศรีราม (2565) ศึกษาความรุนแรงในครอบครัว ปัญหาของความรุนแรงในครอบครัว และ กระบวนการลดความก้าวร้าวของเด็กใน 3 จังหวัดภาคใต้ ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับความรุนแรงใน ครอบครัวที่มีผลต่อความก้าวร้าวของเด็กใน 3 จังหวัดภาคใต้ พบว่า ด้านร่างกายและวาจา อยู่ใน
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3