2566-1 นางสาวพิชญ์สินี ใหม่คง-วิทยานิพนธ์
89 ระดับน้อย ส่วนด้านสังคมอยู่ระดับปานกลาง 2) ปัญหาของความรุนแรงในครอบครัวที่มีผลต่อความ ก้าวร้าวของเด็กใน 3 จังหวัดภาคใต้ ผู้ให้ข้อมูลสะท้อนให้เห็นว่า (1) ความรุนแรงทางด้านวาจา สมาชิกในครอบครัว มักพูดจาให้เด็กน้อยใจหรืออาจจะเป็นพ่อแม่เองที่พูดคําไม่สุภาพในบ้านหรือกับ คนที่สนิท เมื่อเด็กได้รับฟังจึงเป็นพฤติกรรมเลี่ยนแบบแสดงออกทางวาจาที่ก้าวร้าวต่อผู้อื่น (2) ความ รุนแรงทางด้านร่างกาย ผู้ให้ข้อมูลสะท้อนให้เห็นว่า เมื่อเด็กถูกทําโทษทันทีโดยไม่ฟังเหตุผล เด็กจะมี พฤติกรรมไปในทางที่ก้าวร้าว และแสดงพฤติกรรมที่ไม่สุภาพออกมา (3) ด้านความรุนแรงทางด้าน สังคม ผู้ให้ข้อมูลสะท้อนให้เห็นว่า ความรุนแรงขึ้นในสังคม เกิดจากสมาชิกในครอบครัวที่มีความเห็น ไม่ตรงกันและเกิดผลกระทบตามมา 3) กระบวนการลดความก้าวร้าวของเด็กใน 3 จังหวัดภาคใต้ มีข้อเสนอดังนี้ (1) ความรุนแรงทางด้านวาจา พ่อแม่หรือสมาชิกในครอบครัวต้องระวังการพูดจาไม่ เหมาะสมพูดจาให้เด็กน้อยใจ (2) ความรุนแรงทางด้านร่างกาย สมาชิกในครอบครัวควรให้ความ ใกล้ชิด ดูแลเอาใจใส่และอบรมสั่งสอนเพื่อปลูกฝังจิตสํานึกเด็กอยู่เสมอ (3) ความรุนแรงทางด้าน สังคม ควรปลูกฝังความรักและความเข้าใจกันในครอบครัว พูดจากันด้วยเหตุผล เห็นอกเห็นใจซึ่งกัน และกัน จากงานวิจัยทั้งหกดังกล่าวข้างต้น เห็นได้ว่าล้วนศึกษาถึงปัญหาความรุนแรงในครอบครัว ปัจจัยที่ก่อให้เกิดความรุนแรงในครอบครัว พร้อมทั้งเสนอแนวทางการแก้ไขปัญหาให้เหมาะสมกับ สภาพแวดล้อม แต่มิได้ศึกษาถึงกลไกการทำงานของบุคลากรระดับชุมชนในการแก้ไขปัญหาความ รุนแรงในครอบครัวที่เกิดขึ้นในสังคมปัจจุบันแต่อย่างใด ดังนั้น วรรณกรรมที่ได้ทบทวนในบทนี้ ผู้วิจัย นำไปใช้เป็นข้อมูลเอกสารเพื่อประกอบการวิเคราะห์ตามประเด็นที่กำหนดไว้ในการพัฒนากฎหมาย เกี่ยวกับการคุ้มครองผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัว
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3