2566-1 นางสาวพิชญ์สินี ใหม่คง-วิทยานิพนธ์

94 และแนวทางการแก้ปัญหาให้แก่บุคคลในชุมชน หากมีเกิดความรุนแรงในครอบครัวผู้นำชุมชนจะต้อง เข้าไปช่วยเหลือและแนะนำเบื้องต้นได้ไวที่สุด กลุ่มที่ 3 ตัวแทนครอบครัวที่อาศัยอยู่ในพื้นที่จังหวัดยะลา จำนวน 2 คน ให้สัมภาษณ์โดยตัวแทนครอบครัวที่อาศัยอยู่ในพื้นที่จังหวัดยะลาที่บรรลุนิติภาวะทั้ง ประชาชนผู้นับถือศาสนาพุทธและอิสลามที่อาศัยอยู่ในพื้นที่จังหวัดยะลา เพื่อให้ประชาชนที่อาศัยกัน แบบครอบครัวได้สะท้อนปัญหาและแสดงความคิดเห็นในด้านต่าง ๆ เกี่ยวกับการคุ้มครองผู้ถูกกระทำ ความรุนแรงในครอบครัวในพื้นที่ระดับชุมชนในพื้นที่จังหวัดยะลา ให้สอดคล้องกับความประสงค์ของ ประชาชนในพื้นที่ 3.2.3 ขอบเขตด้านพื้นที่ ผู้วิจัยเก็บรวบรวมข้อมูลโดยเลือกเฉพาะเจาะจงในพื้นที่ อำเภอเมืองยะลา จังหวัดยะลา เนื่องจาก จังหวัดยะลาเป็นจังหวัดที่มีความเป็นพหุวัฒนธรรม ซึ่งประกอบด้วย ประชากรที่มีความ หลากหลายทางเชื้อชาติ ศาสนาและวัฒนธรรม อยู่อาศัยร่วมกัน ในครอบครัวหนึ่งที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ อำเภอเมืองยะลา จังหวัดยะลา อาจมาจากบุคคลที่มีความหลากหลายทางเชื้อชาติ หลายศาสนา และ วัฒนธรรม มาอาศัยอยู่ร่วมกันในครอบครัววนั้น ๆ โดยประชากรในจังหวัดยะลา นับถือศาสนา อิสลลาม จำนวนร้อยละ 81.46 ศาสนาพุทธ จำนวนร้อยละ 18.45 ศาสนาคริสต์ จำนวนร้อยละ 0.08 และอื่น ๆ อีกจำนวนร้อยละ 0.01 (สำนักงานพัฒนาสังและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดยะลา , 2565) เมื่อมีความแตกต่างเกิดขึ้น สิ่งที่ตามมา คือ ความไม่เข้าใจซึ่งกันและกันจึงก่อให้เกิดการ ทะเลาะเบาะแว้งจนนำไปสู่ความรุนแรงในครอบครัว ซึ่งมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องหาแนวทางใน การควบคุม ป้องกัน และแก้ไขปัญหาความรุนแรงในครอบครัวที่เกิดขึ้นอย่างไร ให้มีความเหมาะสม กับพื้นที่ ที่มีความเป็นพหุวัฒนธรรม เพื่อให้ปัญหาความรุนแรงในครอบครัวที่เกิดขึ้นมีปริมาณลดลง และคุ้มครองผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัวให้ได้รับความเป็นธรรมอย่างเหมาะสมที่สุด 3.2.4 ประเด็นสัมภาษณ์ ผู้วิจัยได้กำหนดแบบคำถามสัมภาษณ์ใช้คำถามเป็นชุดเดียวกันในการ สัมภาษณ์ทั้งสาม กลุ่ม แต่ละกลุ่มจะใช้เวลาในการสัมภาษณ์กลุ่มละ 45 นาที โดยแบ่งประเด็นคำถามออกเป็น 4 ส่วน ดังนี้ ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไปของผู้ให้สัมภาษณ์ - วันเวลา และสถานที่สัมภาษณ์ - ตำแหน่งหน้าที่งาน การงาน หน่วยงานรัฐ หรือผู้แทนที่ดำเนินงานเกี่ยวข้องในการ แก้ไขปัญหาความรุนแรงในครอบครัว ส่วนที่ 2 กลไกการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐในการคุ้มครองผู้ถูกกระทำด้วยความ รุนแรงในครอบครัวในระดับชุมชน ควรมีรูปแบบอย่างไร

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3