2566-1 นางสาวพิชญ์สินี ใหม่คง-วิทยานิพนธ์

95 ท่านคิดว่ากลไกการคุ้มครองผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัวในระดับชุมชน จาก หน่วยงานภาครัฐในปัจจุบันมีประสิทธิภาพในควบคุม ป้องกันและแก้ไขปัญหาความรุนแรงใน ครอบครัว หรือไม่อย่างไร ท่านคิดว่าหน่วยงานภาครัฐที่ควรเข้ามาดำเนินงานคุ้มครองผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรง ในครอบครัวในระดับชุมชน ควรประกอบด้วยหน่วยงานหรือบุคคลใดบ้างและควรมีหน้าที่อย่างไร ส่วนที่ 3 ท่านมีความรู้จักหรือเข้าใจรูปแบบการดำเนินงานของศูนย์พัฒนาชุมชนใน ครอบครัว(ศพค.) อย่างไร ท่านคิดว่า การดำเนินงานของศูนย์พัฒนาชุมชนในครอบครัว (ศพค.) ในส่วนของการ คุ้มครองผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัว ควรมีอำนาจหน้าที่ในการควบคุม ป้องกันและ แก้ไขปัญหาความรุนแรงในครอบครัวในระดับชุมชน อย่างไร ท่านเห็นด้วยหรือไม่ อย่างไร ในกรณีที่ศาลมีคำสั่งคุ้มครองสวัสดิภาพ หากกำหนดให้ศูนย์ พัฒนาชุมชนในครอบครัว (ศพค.) เข้ามาติดตามกำกับในระดับชุนชน เพื่อให้ผู้กระทำความรุนแรงใน ครอบครัวปฏิบัติตามคำสั่งศาล ท่านเห็นด้วยหรือไม่ ในกรณีที่มีการจัดตั้งศูนย์พัฒนาชุมชนในครอบครัว(ศพค.) เพื่อ คุ้มครองผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัว ส่วนที่ 4 ปัญหาอื่นและข้อเสนอแนะ ข้อเสนอแนะ หรือข้อแนะนำอื่น ๆ ของผู้ให้สัมภาษณ์ที่คิดว่าเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนา กลไกการดำเนินงานของศูนย์พัฒนาชุมชนในครอบครัว(ศพค.) ในการคุ้มครองผู้ถูกกระทำด้วยความ รุนแรงในครอบครัว โดยการควบคุม ป้องกันและแก้ไขปัญหาความรุนแรงในครอบครัวในระดับชุมชน 3.3 เครื่องมือในการรวบรวมข้อมูลเชิงคุณภาพ 1) ศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับ การคุ้มครองผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงใน ครอบครัว เพื่อเป็นแนวทางในการสร้างแบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง (Structured Interview) 2) สร้างแบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง (Structured Interview) 3) เมื่อได้แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้างที่มีความเชื่อมั่นแล้ว นำแบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง ไปเก็บข้อมูลเพื่อดำเนินการวิจัย โดยผู้วิจัยเก็บรวบรวมข้อมูล ด้วยวิธีการใช้แบบสัมภาษณ์ แบบมี โครงสร้าง (Structured Interview) ไปทำการสัมภาษณ์กลุ่มเป้าหมายด้วยตนเอง และเก็บรวบรวม ข้อมูลตามประเด็นข้อคำถามที่กำหนดไว้ในแบบสัมภาษณ์ที่มีโครงสร้างต่อไป

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3