2566-1 นางสาวพิชญ์สินี ใหม่คง-วิทยานิพนธ์

บทที่ 4 ผลการวิจัย การศึกษาและวิจัยนี้มีวัตถุป ระสงค์ในการค้นหาคำตอบอันเป็ นเป้าหมายหลัก คื อ การคุ้มครองผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัว ซึ่งเป็นการศึกษาปัญหาเกี่ยวกับการคุ้มครอง ผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัวในระดับชุมชน โดยยังขาดรูปแบบการดำเนินงานของ บุคลากรที่เกี่ยวข้องในการคุ้มครองผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัวระดับชุมชน เพื่อนำไปสู่ การสร้างกลไกทางกฎหมายในควบคุม ป้องกันและแก้ไขปัญหาความรุนแรงในครอบครัวที่เกิดขึ้น ในปัจจุบันและคุ้มครองผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัวให้ได้รับความเป็นธรรม ผู้วิจัยได้ กำหนดประเด็นในการวิเคราะห์ไว้ 2 ประเด็น ดังนี้ ประเด็นที่หนึ่ง กลไกทางกฎหมายในการคุ้มครอง ผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัว และประเด็นที่สอง ศูนย์พัฒนาครอบครัวในชุมชน(ศพค.) กับอำนาจหน้าที่ในการควบคุม ป้องกันและแก้ไขปัญหาความรุนแรงในครอบครัว 4.1 สถานการณ์ความรุนแรงในครอบครัว สถานการณ์ความรุนแรงในครอบครัวปัจจุบันเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นและอยู่คู่กับสังคมมาเป็นระยะ เวลานาน แต่รัฐไม่สามารถจัดหาวิธีการที่เหมาะสมในการกำจัดปัญหาเหล่านี้ให้หมดไปได้ ครอบครัว ถือเป็นสังคมระดับรากฐานที่เสริมสร้างบุคคลให้เติบโตในสังคม การที่บุคคลคนหนึ่งจะเติบโตเป็น บุคคลที่ดีได้ในสังคม จะต้องเริ่มต้นมาจากการดูแล มีการเอาใจใส่ของบุคคลในครอบครัวในลักษณะ ครอบครัวที่อบอุ่น รักใคร่ ห่วงใย ปรองดองกัน คำว่าครอบครัวตามคำนิยามในสังคมไทย คือ ครอบครัวที่มีความสมบูรณ์แบบ ซึ่งประกอบด้วย พ่อ แม่ ลูก อยู่อาศัยร่วมกันอย่างพร้อมหน้าพร้อม ตา แต่ในความเป็นจริงสถิติของประเทศไทยแสดงให้เห็นว่าครัวเรือนสมบูรณ์มีแนวโน้มลดลงเหลือ เพียงหนึ่งในสามในปี พ.ศ.2563 เมื่อเทียบกับเมื่อ 30 ปีก่อนหน้า และถ้าแนวโน้มนี้ยังดำรงไปอย่าง ต่อเนื่องอีก 20 ปี (จนถึง พ.ศ.2583) ครัวเรือนคนเดียวในประชากรวัยแรงงานจะเพิ่มขึ้น 1 เท่าตัว ส่วนครัวเรือนไม่พร้อมหน้าจะเพิ่มขึ้นเป็น 1 ใน 5 ของครัวเรือนทั้งหมด(มติชน ออนไลน์, 2564) เมื่อ บุคคลที่เติบโตมาจากครอบครัวที่ไม่มีความพร้อม อาจส่งผลให้เกิดปัญหาในสังคมจนนำไปสู่ปัญหา ความรุนแรงในครอบครัวอย่างในปัจจุบัน จากสถิติขององค์การสหประชาชาติ ระบุว่าประเทศไทยมีคดีความรุนแรงในครอบครัวเป็นอันดับ 1 ใน 10 ของโลกอย่างต่อเนื่อง (สาระสุขภาพ (ออนไลน์), 2565) ซึ่งสถานการณ์ความรุนแรงใน ครอบครัวในปัจจุบันนับวันยิ่งทวีความรุนแรงเพิ่มขึ้นในทุก ๆ วัน (สำนักงานกองทุนสนับสนุนการ เสริมสร้างสุขภาพ (ออนไลน์), 2564) รายงานจากศูนย์ปฏิบัติการกรมกิจการสตรีและสถาบัน

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3