2566-1 นางสาวพิชญ์สินี ใหม่คง-วิทยานิพนธ์

98 ครอบครัว กองส่งเสริมสถาบันครอบครัว กรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว รวบรวมสถิติความ รุนแรงในครอบครัวย้อนหลัง 6 ปี ตั้งแต่ปีงบประมาณ 2559 จนถึงปีงบประมาณ 2564 จำนวนความ รุนแรงในครอบครัวที่เข้าสู่การช่วย เหลือจากภาครัฐจำนวนทั้งสิ้น 9 ,386 ราย แบ่งออกเป็นใน ปีงบประมาณ 2559 จำนวน 1,001 ราย ในปีงบประมาณ 2560 จำนวน 1,309 ราย ในปีงบประมาณ 2561 จำนวน 1,353 รายในปีงบประมาณ 2562 จำนวน 1,680 ราย ในปีงบประมาณ 2563 จำนวน 1,866 ราย และในปีงบประมาณ 2564 จำนวน 2 ,177 ราย (ศูนย์ปฏิบัติการกรมกิจการสตรีและ สถาบันครอบครัว กองส่งเสริมสถาบันครอบครัว (ออนไลน์) , 2565) ซึ่งมีทั้งความรุนแรงทางด้าน ร่างกาย ความรุนแรงทางเพศและความรุนแรงทางด้านจิตใจ แต่เมื่อมีความรุนแรงในครอบครัวเกิดขึ้น ผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัวไม่ประสงค์ดำเนินคดีสูงถึงร้อยละ 77 และเพศที่ถูกกระทำ ความรุนแรงความในครอบครัวส่วนใหญ่ คือ เพศหญิง และเพศที่กระทำความความรุนแรงใน ครอบครัว ส่วนใหญ่ คือ เพศชาย (NationTV Online (ออนไลน์), 2564) ภาพที่ 6 เปรียบเทียบสถิติเพศที่กระทำความรุนแรงในครอบครัว (ที่มา : ภาพผู้วิจัย) จากข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นในสังคม ข่าวที่ออกสื่อในทุก ๆ วัน ส่วนใหญ่เป็นข่าวในลักษณะ เหตุการณ์ความรุนแรงที่เกิดขึ้นในสังคม และจะเป็นความรุนแรงที่เกิดขึ้นกับบุคคลในครอบครัว มากกว่าความรุนแรงในรูปแบบอื่น ๆ เหตุการณ์ความรุนแรงที่เกิดขึ้นกับบุคคลในครอบครัว เป็นเหตุการณ์ที่สะเทือนใจบุคคลในสังคมอย่างมาก อาทิ “คดีแม่ ป. วางยาลูกหวังเงินบริจาคข่าว ใหญ่สะเทือนใจผู้คนในสังคมในปี พ.ศ. 2565 สำหรับกรณีของแม่ ป. หญิงวัย 29 ปีที่โพสต์รูปลูกของ ตนป่วยหนักในลักษณะมีสารพิษในร่างกาย เพื่อขอรับเงินบริจาคจากผู้ใจบุญมีผู้โอนเงินช่วย เหลือ จำนวนมาก จากนั้นไม่นานเด็กได้เสียชีวิตลง และจากการสืบสวนของพนักงานสอบสวน พบว่า แม่ ป.

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3