2566-1 นางสาวพิชญ์สินี ใหม่คง-วิทยานิพนธ์

105 จะเห็นได้ว่า กลไกทางกฎหมายในการคุ้มครองผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัว ระดับชุมชนของทั้ง 4 ประเทศข้างต้น มีกฎหมายบัญญัติไว้โดยเฉพาะในเรื่องการคุ้มครองผู้ถูกกระทำ ด้วยความรุนแรงในครอบครัว แทนการนำกระบวนกฎหมายอาญามาบังคับใช้ เนื่องจากเรื่อง เกี่ยวกับ ครอบครัวเป็นเรื่องที่มีความละเอียดอ่อน การนำกฎหมายอาญามาบังคับใช้จึงไม่มีความแหมาะสม และในประเทศข้างต้น มีหน่วยงานหรือบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับปฏิบัติงานด้านการคุ้มครองผู้ถูกกระทำ ด้วยความรุนแรงในครอบครัวระดับชุมชนทุกประเทศ เพื่อให้ประชาชนในชุมชนเข้ารับความช่วยเหลือ ได้อย่างรวดเร็วและทั่วถึง แต่อย่างไรก็ตามในต่างประเทศ ไม่ว่าจะเป็น สหพันธรัฐมาเลเซีย เครือรัฐออสเตรเลีย เขตปกครอง Australian Capital Territory และสหรัฐอเมริกา มีการกำหนด โครงสร้างและอำนาจหน้าที่ของหน่วยงานหรือบุคลากรที่เกี่ยวข้องในด้านการคุ้มครองผู้ถูกกระทำด้วย ความรุนแรงในครอบครัวระดับชุมชน ไว้ในกฎหมายของแต่ละประเทศอย่างเป็นระบบ แต่ใน ขณะเดียวกัน ประเทศไทยมีเพียงกฎหมายที่บัญญัติให้การคุ้มครองผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงใน ครอบครัวระดับชุมชนเป็นหน้าที่ของศูนย์พัฒนาครอบครัวในชุมชน(ศพค.) ไว้ในพระราชบัญญัติ ส่งเสริมการพัฒนาและคุ้มครองสถาบันครอบครัว พ.ศ. 2562 แต่มิได้มีการกำหนดโครงสร้างและ อำนาจหน้าที่ของบุคลากรดังกล่าวไว้โดยเฉพาะ ให้สอดคล้องไปในทิศทางเดียวกันเหมือนเช่น กฎหมายของต่างประเทศ จึงเป็นเหตุให้ศูนย์พัฒนาครอบครัวในชุมชน(ศพค.) ไม่สามารถดำเนินงาน ไปได้ตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ 4.3 กลไกทางกฎหมายในการคุ้มครองผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัวใน ประเทศไทย ประเทศไทยในปัจจุบันกลไกทางกฎหมายในการคุ้มครองผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงใน ครอบครัวในประเทศไทย ตามพระราชบัญญัติส่งเสริมการพัฒนาและคุ้มครองสถาบันครอบครัว พ.ศ. 2562 สามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ระดับ ดังต่อไปนี้

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3