2566-1 นางสาวพิชญ์สินี ใหม่คง-วิทยานิพนธ์
107 ทั้งรายงานผลการดำเนินงานต่อคณะรัฐมนตรีและรัฐสภาเพื่อท ราบ อย่างน้อยปีละหนึ่งครั้ง เสนอความเห็นและข้อสังเกตต่อคณะรัฐมนตรีเกี่ยวกับการให้มีหรือแก้ไขกฎหมายเกี่ยวกับการส่งเสริม พัฒนาครอบครัวและการคุ้มครองสวัสดิภาพ บทบาทของประเทศไทยในระดับชาติและนานาชาติใน การส่งเสริม พัฒนาครอบครัวและการคุ้มครอง สวัสดิภาพ ดำเนินการส่งเสริมให้มีการสนับสนุน ประสานงาน ติดตามผล และช่วยเหลือหน่วยงานของรัฐ เอกชน และภาคประชาสังคม ออกระเบียบ หรือประกาศเพื่อปฏิบัติตามพระราชบัญญัตินี้ พร้อมทั้งปฏิบัติการอื่นใดตามที่กฎหมายกำหนดให้เป็น หน้าที่และอำนาจของคณะกรรมการหรือคณะรัฐมนตรีมอบหมาย การควบคุม ป้องกันและแก้ไขปัญหาความรุนแรงในครอบครัว ในปัจจุบันรัฐได้กำหนด นโยบาย ยุทธศาสตร์ แผนหลัก แผนงาน มาตรการ และแนวทางในการส่งเสริม พัฒนาและคุ้มครอง สถาบันครอบครัว ให้บุคลากรผู้ปฏิบัติงานและประชาชนที่เกี่ยวข้องได้ปฏิบัติตามแผนที่วางไว้ ในยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี พ.ศ. 2561 – 2580 พบว่า ประกอบด้วย 6 ยุทธศาสตร์ ได้กำหนดแนวทาง ในการควบคุม ป้องกันและแก้ไขปัญหาความรุนแรงในครอบครัวไว้อย่างรอบด้าน โดยกำหนดให้มีการ ส่งเสริมครอบครัวให้มีความอบอุ่น และเข้มแข็งโดยได้รับความร่วมมือกับหน่วยงานภาครัฐหรือเอกชน และบุคคลในชุมชนร่วมกัน เนื่องจากมีการส่งเสริมให้ชุมชนเป็นฐานในการสร้างสุขภาวะที่ดีในทุก พื้นที่ หากมีปัญหาความรุนแรงในครอบครัวเกิดขึ้นในชุมชนหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทุกภาคส่วนจะต้อง เข้ามาร่วมกันแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว เพื่อลดปัญหาที่เป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาสุขภาวะ ของบุคคลในสังคม ตามยุทธศาสตร์ชาติที่สาม และเพื่อลดปัญหาความเลื่อมล้ำในสังคม บุคคลทุกคน จะต้องสามารถเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมได้อย่างทั่วถึง และ จัดให้มีการพึ่งตนเองและการจัดการ ตนเองโดยการส่งเสริมการปรับพฤติกรรมในระดับครัวเรือน ให้มีความสามารถในการจัดการวางแผน ชีวิต สุขภาพ ครอบครัว การเงินและอาชีพ โดยใช้ข้อมูลความรู้ และการยกระดับการเรียนรู้ข อง ครัวเรือน ตามยุทธศาสตร์ชาติที่สี่ และยุทธศาสตร์ชาติที่หก หากในสังคมสามารถควบคุม ป้องกัน และแก้ไขปัญหาความรุนแรงในครอบครัวได้ ส่งผลให้สังคมนั้นมีสภาพแวดล้อมที่น่าอยู่ ครอบครัวมี ความมั่นคงและเข้มแข็งในทุก ๆ ด้าน ไม่ว่าจะเป็นด้านความปลอดภัยในครอบครัว ด้านอา ชีพ ด้านรายได้ เป็นต้น ตามยุทธศาสตร์ชาติหนึ่ง ยุทธศาสตร์ชาติสองและยุทธศาสตร์ชาติห้า นอกจากนี้ แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 พ.ศ. 2566-2570 ได้กำหนดบริบทการพัฒนา ประเทศ ไว้ 4 ประการ โดยมุ่งเน้นการพัฒนาประเทศให้มีความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน เป็นประเทศ พัฒนาแล้ว ด้วยการพัฒนาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และให้ความสำคัญกับการยกระดับ คุณภาพและประสิทธิภาพของการบริหารจัดการภาครัฐให้สามารถตอบสนองต่อความต้องการของ ประชาชนได้อย่างเป็นรูปธรรมและทันต่อสถานการณ์ โดย เร่งปรับตัวให้เท่าทันการเปลี่ยนแปลง สามารถให้บริการที่มีคุณภาพมาตรฐานแก่ประชาชนทุกคนอย่างเท่าเทียมมีการเชื่อมโยงจาก ส่วนกลางสู่ท้องถิ่นได้อย่างมีบูรณาการ เสริมสร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3