2566-1 นางสาวพิชญ์สินี ใหม่คง-วิทยานิพนธ์

112 แก้ไขบำบัดฟื้นฟูหรือเข้ารับการรักษาอื่น ขอให้ศาลมีคำสั่งถอนอำนาจปกครองของผู้กระทำความ รุนแรงในครอบครัวเสียทั้งหมดหรือแต่บางส่วน หรือห้ามผู้กระทำความรุนแรงในครอบครัวติดต่อเด็ก นั้นไม่ว่าโดยตรงหรือโดยอ้อมตามระยะเวลาที่ศาลจะเห็นสมควร ในกรณีที่ผู้กระท ำความรุนแรงใน ครอบครัวได้กระทำต่อเด็กซึ่งตนมีหน้าที่อุปการะเลี้ยงดู และขอให้ศาลมีคำสั่งถอนการเป็นผู้อนุบาล หรือผู้พิทักษ์ เมื่อศาลออกคำสั่งคุ้มครองสวัสดิภาพ ศาลอาจมี คำสั่งให้ศูนย์ส่งเสริมและคุ้มครอง ครอบครัว พนักงานเจ้าหน้าที่ ติดตามกำกับให้ผู้กระทำความรุนแรงในครอบครัวปฏิบัติตามคำสั่งและ รายงานให้ศาลทราบตามระยะเวลาที่เห็นสมควร และจะสั่งให้ผู้กระท ำความรุนแรงในครอบครัว ผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัว บุคคลในครอบครัว หรือบุคคลอื่นที่เกี่ยวข้องมาศาล ในกรณี ผู้อยู่ภายใต้บังคับคำสั่งคุ้มครองสวัสดิภาพของศาลผู้ใดจงใจฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติ ตามคำสั่งคุ้มครอง สวัสดิภาพโดยไม่มีเหตุอันสมควร ศาลมีอ ำนาจออกหมายจับผู้นั้นมาขังจนกว่าจะปฏิบัติตามคำสั่ง แต่ไม่เกินกว่า 1 เดือน ถ้าผู้นั้นได้รับการปล่อยชั่วคราว ศาลอาจก ำหนดเงื่อนไขให้ต้องปฏิบัติ ใน ระหว่างการปล่ อยชั่วค ราวก็ได้เพื่อสอบ ถามความเป็นไป หรือ การปฏิบั ติตามค ำสั่งศาลก็ได้ เช่นเดียวกับมาตรการทางกฎหมายในการคุ้มครองผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัวขอ ง สหพันธรัฐมาเลเซีย บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติความรุนแรงในครอบครัว พ.ศ. 2537 (Domestic Violence Act 1994) โดยกำหนดให้มีมาตรการทางกฎหมายในการคุ้มครองผู้ถูกกระทำด้วยความ รุนแรงในครอบครัวมีด้วยกัน 2 รูปแบบ ได้แก่ คำสั่งคุ้มครองชั่วคราวและคำสั่งคุ้มครองในกรณีฉุกเฉิน ซึ่งคำสั่งคุ้มครองชั่วคราว มีมาตรการในการออกคำสั่งคุ้มครองคล้ายคลึงกับมาตรการทางกฎหมายใน ประเทศไทย ซึ่งมีการออกคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวโดยศาล เพื่อกำหนดเงื่อนไขแก่ผู้กระทำความรุนแรง ในครอบครัวมิให้กระทำการใด ๆ ที่อาจเป็นเหตุให้เกิดความรุนแรงในครอบครัวต่อผู้ ถูกกระทำด้วย ความรุนแรงในครอบครัว แต่อย่างไรก็ตามคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวที่ศาลกำหนด มีผลบังคับผู้อยู่ภายใต้ คำสั่งไม่เกิน 12 เดือนนับแต่ศาลออกคำสั่ง หากผู้อยู่ภายใต้คำสั่งไม่สามารถปฏิบัติตามคำสั่งศาลได้ใน ระยะเวลาที่ศาลกำหนด ศาลอาจขยายระยะเวลาดังกล่าวได้อีกไม่เกิน 12 เดือนนับแต่คำสั่งเดิมสิ้นผล ลง และหากผู้อยู่ภายใต้คำสั่งฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขที่ศาลกำหนด จนเป็นเหตุให้ผู้ถูกกระทำด้วย ความรุนแรงในครอบครัวไม่ได้รับความปลอดภัย มีความผิดและถูกลงโทษตามที่ศาลกำหนด และ คำสั่งคุ้มครองฉุกเฉิน บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติความรุนแรงในครอบครัว (แก้ไข ) พ.ศ. 2560 (Domestic Violence (Amendment) Act 2017) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อคุ้มครองผู้ถูกกระทำด้วย ความรุนแรงในครอบครัวในกรณีฉุกเฉินได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งคำสั่งคุ้มครองฉุกเฉินออกโดย เจ้าหน้าที่ สวัสดิการสังคม ที่ประชาชนทั้งในระดับชุมชนสามารถเข้าถึงง่ายเมื่อมีความรุนแรงในครอบครัวเกิดขึ้น ผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัวสามารถยื่นคำร้องคำสั่งคุ้มครองได้ที่สำนักงานเขตกรม สวัสดิการสังคมที่ผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัวอาศัยอยู่อย่างถาวร อาศัยอยู่ชั่วคราว

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3