2566-1 นางสาวพิชญ์สินี ใหม่คง-วิทยานิพนธ์

115 พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัว พ.ศ. 2550 ซึ่งเป็นกฎหมายที่ เกี่ยวกับการคุ้มครองสวัสดิภาพในครอบครัวฉบับเดิมมาใช้บังคับต่อไปก่อนเป็นการชั่วคราว ตามที่ บัญญัติไว้ในพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติส่งเสริมการพัฒนาและคุ้มครองสถาบัน ครอบครัว พ.ศ. 2562 ฉะนั้นเพื่อให้ศูนย์พัฒนาครอบครัวในชุมชน(ศพค.) ดำเนินงานต่อไปได้อย่างเข้มแข็งใน อนาคตควรมีการกำหนดกำหนดโครงสร้างและอำนาจหน้าที่ของบุคลากรประจำศูนย์พัฒนาครอบครัว ในชุมชน(ศพค.) ให้มีผลบังคับใช้ตามกฎหมาย 1) กลไกประจำศูนย์พัฒนาครอบครัวในระดับชุมชน(ศพค.) ด้านโครงสร้างของ บุคลากรประจำศูนย์ศูนย์พัฒนาครอบครัวในระดับชุมชน(ศพค.) โครงสร้างของศูนย์พัฒนาครอบครัวในชุมชน ตามที่กรมกิจการสตรีและสถาบัน ครอบครัวกำหนดไว้ในคู่มือจัดตั้งและดำเนินงานศูนย์พัฒนาครอบครัวในชุมชน(ศพค.)กำหนดให้มี คณะทำงานจากทุกหมู่บ้านหรือชุมชน จำนวน 9 –15 คน หรือแล้วแต่ความเหมาะสมของแต่ละพื้นที่ โดยมีสัดส่วนของหญิงและชายที่ใกล้เคียงกัน ระยะเวลาดำรงตำแหน่ง 2 – 4 ปี หรือแล้วแต่ความ เหมาะสม โดยสามารถปรับเปลี่ยนคณะทำงานศูนย์พัฒนาครอบครัวในชุมชน(ศพค.) ได้ในกรณีฉุกเฉิน ซึ่งตามคู่มือจัดตั้งและดำเนินงานศูนย์พัฒนาครอบครัวในชุมชน(ศพค.) กรมกิจการสตรีและสถาบัน ครอบครัว กำหนดให้มีคณะทำงานศูนย์พัฒนาครอบครัวในชุมชน(ศพค.) ประกอบด้วยตัวแทน หน่วยงานภาครัฐหรือภาคเอกชนที่เกี่ยวข้อง ในการเข้ามาควบคุม ป้องกันและแก้ไขปัญหาความ รุนแรงในครอบครัว ซึ่งประกอบบุคคลตามโครงสร้างศูนย์พัฒนาครอบครัวในชุมชน(ศพค.) ดังต่อไปนี้ ภาพที่ 10 โครงสร้างศูนย์พัฒนาครอบครัวในชุมชน (ที่มา : กรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว. 2562)

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3