2566-1 นางสาวพิชญ์สินี ใหม่คง-วิทยานิพนธ์

117 สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของการจัดตั้ง สภาป้องกันความรุนแรงในครอบครัว ซึ่งองค์กรดังกล่าวได้มี การกำหนดโครงสร้างตามกฎหมายของบุคลากรไว้ใน มาตรา 6 แห่งพระราชบัญญัติหน่วยงานที่ เกี่ยวข้องกับความรุนแรงในครอบครัว พ.ศ. 2529 (Domestic Violence Agencies Act 1986) ไว้อย่างเป็นระบบ โดยสมาชิกของสภาป้องกันความรุนแรงในครอบครัว จะประกอบด้วยบุคคลที่ได้รับ การแต่งตั้งจากรัฐมนตรีจะต้องมีบุคคลไม่น้อยกว่า 6 คนในฐานะสมาชิกชุมชน จำนวนไม่น้อยกว่า 1 คน ที่รัฐมนตรีเห็นว่าสามารถแสดงความเห็นและความสนใจของชาวอะบอริจินและหมู่เกาะช่องแคบ ทอร์เรส จำนวนไม่น้อยกว่า 1 คน ที่รัฐมนตรีเห็นว่าสามารถแสดงความเห็นและความสนใจของผู้ที่ไม่ สามารถพูดภาษาอังกฤษได้ตัวแทนจำนวนไม่น้อยกว่า 1 คนของหน่วยงานบริการวิกฤตความรุนแรง ในครอบครัว และบุคคลอื่น ๆ ที่เป็นผู้ดำรงตำแหน่งตามกฎหมาย ข้าราชการ หรือเจ้าหน้าที่ตำรวจ การทำคำสั่งแต่งตั้งบุคคลเป็นสมาชิกที่ได้รับการแต่งตั้งต้องระบุความสามารถที่จะแต่งตั้งบุคคดังกล่าว และการที่รัฐมนตรีจะแต่งตั้งบุคคลใดเข้าสู่สภาป้องกันความรุนแรงในครอบครัวเป็นสมาชิกในชุมชน ได้ก็ต่อเมื่อรัฐมนตรีเห็นว่าบุคคลนั้นมีความคุ้นเคยกับความคิดเห็นและเป็นประโยชน์ของชุมชนใน เรื่องที่เกี่ยวกับความรุนแรงในครอบครัวและสามารถแสดงความเห็น เพื่อควบคุม ป้องกัน และแก้ไข ปัญหาความรุนแรงในครอบครัวได้ เมื่อมีกฎหมายกำหนดโครงสร้างของสมาชิกของสภาป้องกันความ รุนแรงในครอบครัว ส่งผลให้สภาป้องกันความรุนแรงในครอบครัว ดำเนินงานไปได้อย่างแข็งแรง เนื่องจากมีบุคลากรที่มีความพร้อมในการปฏิบัติงาน โดยการดำเนินงานในการส่งเสริม พัฒนาและ คุ้มครองสถาบันครอบครัว ในด้านการควบคุม ป้องกันและแก้ไขปัญหาความรุนแรงในครอบครัว จะต้องมีการร่วมมือกันจากหน่วยงานหลากหลายภาคส่วน เพื่อการทำงานที่มีประสิทธิภาพและ สามารถเข้าถึงประชาชนได้อย่างทั่วถึง อย่างที่กล่าวไว้ในทฤษฎีผลสัมฤทธิ์ของกลุ่ม กล่าวคือ การทำงานร่วมกันเป็นกลุ่มโดยการกำหนดโครงสร้างที่เป็นทางการ อย่างเช่น การกำหนดตำแหน่ง หน้าที่ รายละเอียดงาน บทบาทของสมาชิก ในกลุ่ม และกำหนดผลสัมฤทธิ์ในการทำงานรวมกลุ่ม จะส่งผลให้การทำงานมีประสิทธิภาพเพิ่มมากขึ้นหากสมาชิกในกลุ่มปฏิบัติตนภายใต้ทฤษฎีดังกล่าว และจากการศึกษาแนวทางการประสานการทำงานร่วมกันในการแก้ปัญหาความรุนแรงเกี่ยวกับ ครอบครัวขององค์การเพื่อส่งเสริมความเสมอภาคระหว่างเพศและเพิ่มพลังของผู้ห ญิงแห่ ง สหประชาชาติ (UN Women) ทำให้ทราบถึงแนวทางการประสานการทำงานร่วมกันในการแก้ปัญหา ความรุนแรงเกี่ยวกับครอบครัวขององค์การจะทำให้งานสำเร็จได้อย่างมีประสิทธิภาพ จะต้องมีการ การประสานความร่วมมือระหว่างหน่วยงาน โดยกำหนดให้หน่วยงานในระดับชุมชนทำงานร่วมกัน อีกทั้งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 มาตรา 68 กำหนดให้รัฐต้องบริหาร จัดการกระบวนการยุติธรรมทุกด้านให้มีประสิทธิภาพ เป็นธรรม ไม่เลือกปฏิบัติ และให้ประชาชน

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3