2566-1 นางสาวพิชญ์สินี ใหม่คง-วิทยานิพนธ์
119 ศูนย์พัฒนาครอบครัวในระดับชุมชน(ศพค.) โดยให้ประกอบด้วยบุคคลดังต่อไปนี้ กรณีบุคลากรภาครัฐ ควรประกอบด้วย ผู้บริหารองค์กรปกครองส่ วนท้องถิ่น(อปท.) นายกเทศมนตรี กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน(อสม.) เจ้าหน้าที่ประจำศูนย์ปฏิบัติการเพื่อป้องกันการกระทำ ความรุนแรงในครอบครัวประจำจังหวัด อาสาสมัครพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์(อพม.) ผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล เจ้าพนักงานสาธารณสุขชุมชน อาสาสมัครสาธารณสุข ประจำหมู่บ้าน(อสม.) แพทย์ตำบล หรือนักจิตวิทยาในชุมชนนั้น ๆ ผู้นำทางศาสนา ผู้อำนวยการ โรงเรียน และคุณครูประจำโรงเรียน และกรณีบุคลากรภาคเอกชน เห็นควรให้ประชาชนในชุมชนที่มี ความประสงค์ในการเข้าร่วมปฏิบัติงานเพื่อควบคุม ป้องกัน และแก้ไขปัญหาความรุนแรงในครอบครัว และมูลนิธิที่จดทะเบียนเป็นมูลนิธิมีวัตถุประสงค์ในการดูแลครอบครัวในชุมชนในจังหวัดนั้น ๆ สามารถเข้ามาจดทะเบียนเป็นศูนย์พัฒนาครอบครัวในชุมชน(ศพค.) ในพื้นที่ชุมชนในจังหวัดนั้น ๆ ได ้ ซึ่งในปัจจุบันมีศูนย์พัฒนาครอบครัวในชุมชน(ศพค.) เป็นองค์กรในระดับชุมชนที่ดูแล ส่งเสริม พัฒนา และคุ้มครองสถาบันครอบครัวในเรื่องต่าง ๆ ฉะนั้น ศูนย์พัฒนาครอบครัวในชุมชน(ศพค.) ควรม ี คณะทำงานศูนย์พัฒนาครอบครัวในชุมชน (ศพค.) ที่ประกอบด้วยบุคคลตามที่กล่าวมาข้างต้น มา ปฏิบัติงานประจำศูนย์พัฒนาครอบครัวในชุมชน(ศพค.) เพื่อให้ผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงใน ครอบครัวหรือผู้ที่ต้องการความช่วยเหลือได้รับบริการความช่วยเหลืออย่างรวดเร็วและสามารถยุติ เหตุการณ์ความรุนแรงในครอบครัวได้ในระดับชุมชน และคณะทำงานศูนย์พัฒนาครอบครัวในชุมชน (ศพค.) ควรมีสถานะเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ ที่ปฏิบัติภายใต้กฎหมายที่คุ้มครองผู้ถูกกระทำด้วยความ รุนแรงในครอบครัว เพื่อให้คณะทำงานศูนย์พัฒนาครอบครัวในชุมชน(ศพค.) ได้รับความคุ้มครองตาม กฎหมาย ตามที่รัฐธรรมนูญกำหนด จากการศึกษาแนวคิด ทฤษฎี และกฎหมายที่เกี่ยวข้อง รวมถึงผลจากการสัมภาษณ ์ เชิงลึก ที่ได้วิเคราะห์มาโดยลำดับแล้ว เห็นควรให้มีการกำหนดโครงสร้างตามกฎหมายของบุคลากร ประจำศูนย์พัฒนาครอบครัวในชุมชน(ศพค.) ตามทฤษฎีโครงสร้างและหน้าที่ ประกอบด้วยบุคลากร จำนวน 9-15 คน โดยจะต้องประกอบด้วยบุคคลจากทั้ง 3 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มหน่วยงานภาครัฐ กลุ่ม ภาคประชาชน และตัวแทนครอบครัวในชุมชน และกำหนดให้มีตัวแทนจากแต่ละกลุ่มในจำนวน เท่ากันหรือใกล้เคียงกัน เพื่อให้เกิดการทำงานร่วมกันในรูปแบบเชิงบูรณาการจากกลุ่มบุคคล หลากหลายภาคส่วน ตามทฤษฎีผลสัมฤทธิ์ของกลุ่ม และกำหนดให้มีสัดส่วนของเพศหญิงและเพศ ชายที่ใกล้เคียงกัน ให้สอดคล้องกับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 มาตรา 27 ซึ่งสามารถแบ่งตัวแทนจากกลุ่มหน่วยงานภาครัฐ กลุ่มภาคประชาชน และตัวแทนครอบครัวในชุมชน ได้ดังน ี้ 1.กลุ่มตัวแทนองค์กร คือ องค์กรที่ควรเข้ามาเกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการศูนย์พัฒนา ครอบครัวในชุมชน(ศพค.) ควรเป็นหน่วยงานในระดับชุมชนที่มีบุคลากรพร้อมปฏิบัติงานที่มอบหมาย
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3