2566-1 นางสาวพิชญ์สินี ใหม่คง-วิทยานิพนธ์

120 และเข้าถึงประชาชนได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งตัวแทนของบุคลากรจากหน่วยงาน ดังต่อไปนี้จะต้องเข้ามามี บทบาทในการควบคุม ป้องกันและแก้ไขปัญหาความรุนแรงในครอบครัวประจำศูนย์พัฒนาครอบครัว ในชุมชน(ศพค.) 1.1 กระทรวงมหาดไทย เป็นหน่วยงานที่รักษาความสงบเรียบร้อยของประชาชน อำนวยความเป็นธรรมของสังคม ส่งเสริมและพัฒนาการเมืองการปกครอง พัฒนาการบริหารราชการ ส่วนภูมิภาค ส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่นและพัฒนาชุมชน ซึ่งบุคลากรสังกัดกระทรวงมหาดไทย ที่เข้ามาเกี่ยวข้องกับการบำบัดทุกข์ บำรุงสุขของประชาชนในชุมชน และคลุกคลีกับบุคคลในชุมชน ควรกำหนดให้บุคคลที่ดำรงตำแหน่ง ดังต่อไปนี้ เข้ามาประจำศูนย์พัฒนาครอบครัวในชุมชน(ศพค.) 1.1.1 ผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น(อปท.) 1.1.2 นายกเทศมนตรี 1.1.3 กำนัน 1.1.4 ผู้ใหญ่บ้าน 1.1.5 แพทย์ตำบล 1.2 กระทรวงสาธารณสุข การกระทำความรุนแรงในครอบครัว เป็นปัญหาที่ส่งผล กระทบต่อสุขอนามัยเป็นอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็นด้านร่างกายหรือด้านจิตใจ ซึ่งตามพระราชบัญญัติ ปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2545 มาตรา 42 กำหนดให้กระทรวงสาธารณสุข เป็นหน่วยงาน ที่มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการสร้างเสริมสุขภาพอนามัย การป้องกัน ควบคุม และรักษาโรคภัย การฟื้นฟูสมรรถภาพของประชาชน ให้มีสุขอนามัยที่ดีขึ้น จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีตัวแทน บุคลากรจากกระทรวงสาธารณสุขโดยในระดับชุมชน กำหนดให้มีบุคลากรดังต่อไปนี้เข้ามาเป็น บุคลากรประจำศูนย์พัฒนาครอบครัวในชุมชน(ศพค.) เพื่อให้ดูแลครอบครัวในชุมชนได้อย่างทั่วถึง 1.2.1 ผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล 1.2.2 เจ้าพนักงานสาธารสุขชุมชน 1.2.3 อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน(อสม.) 1.3 กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ตามพระราชบัญญัติปรับปรุง กระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2545 หมวด 6 มาตรา 16 กำหนดให้กระทรวงการพัฒนาสังคมและความ มั่นคงของมนุษย์ มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการพัฒนาสังคม การสร้างความเป็นธรรมและความเสมอ ภาคในสังคม การส่งเสริม พัฒนาคุณภาพและความมั่นคงในชีวิต สถาบันครอบครัวและชุมชนใน ปัจจุบันกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ มีบทบาทในด้านการควบคุม ป้องกัน และแก้ไขปัญหาความรุนแรงในครอบครัว เป็นอย่างมาก จะเห็นได้ว่าในพระราชบัญญัติส่งเสริมการ พัฒนาและคุ้มครองสถาบันครอบครัว พ.ศ. 2562 ให้อำนาจแก่กระทรวงการพัฒนาสังคมและความ

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3