2566-1 นางสาวพิชญ์สินี ใหม่คง-วิทยานิพนธ์

128 ครอบครัวในชุมชน(ศพค.) เป็นศูนย์กลางและกลไกในการเฝ้าระวัง ป้องกัน แก้ไขปัญหา ให้คำแนะนำ และส่งเสริมการเรียนรู้ให้แก่ครอบครัวในชุมชน การสำรวจข้อมูลประชากรในชุมชนจึงถือเป็น จุดเริ่มต้นในการดูแลที่สามารถเข้าถึงบุคคลในชุมชนได้อย่างทั่วถึง หากในกรณีมีความรุนแรงใน ครอบครัวเกิดขึ้นในชุมชน บุคลากรประจำศูนย์พัฒนาครอบครัวในชุมชน(ศพค.) จะสามารถทราบถึง ข้อมูลของบุคคลในครอบครัวนั้น ๆ ได้อย่างรวดเร็วและสามารถจัดการหาวิธีการหรือแนวท างในการ ช่วยเหลือในรูปแบบที่เหมาะสมสำหรับครอบครัวนั้น ๆ แต่อย่างไรก็ตามข้อมูลประชากรในชุมชนที่ ได้มาจากการเก็บรวบรวมข้อมูลถือเป็นข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคล ห้ามมิให้มีการเปิดเผยข้อมูลดังกล่าว เว้นแต่จะได้รับความยินยอมเป็นหนังสือจากเจ้าของข้อมูลหรือมีเหตุต้องเปิด เผยข้อมูลดังกล่าวตาม มาตรา 24 แห่งพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ.2540 ประกอบมาตรา 39 วรรค 2 แห่งพระราชบัญญัติส่งเสริมการพัฒนาและคุ้มครองสถาบันครอบครัว พ.ศ. 2562 (3) จัดการอบรม ให้ความรู้ ความเข้าใจ คำปรึกษาแนะนำและไกล่เกลี่ยประนีประนอม เรื่องปัญหาเกี่ยวกับครอบครัว การใช้ชีวิตอยู่ร่วมกันสังคมหนึ่ง ๆ ความรู้ ถือเป็นเรื่องสำคัญที่มนุษย์ทุกคนจะต้อง มีติดตัว ซึ่งตามทฤษฎีการเรียนรู้ทางสังคม การเรียนรู้ของมนุษย์เกิดขึ้นจากหลายปัจจัย ไม่ว่าจะเป็น การเรียนรู้จากประสบการณ์ตรง การเรียนรู้จากประสบการณ์ทางอ้อม หรือการเรียนรู้จากการสังเกต ตัวแบบเพื่อศึกษาหรือเลียนแบบ ฉะนั้น สังคมระดับครอบครัว เป็นสังคมแรกที่มนุษย์ทุกคนได้รับการ เรียนรู้ รัฐจึงควรให้ความสำคัญกับสังคมระดับครอบครัวเป็นอย่างมาก ศูนย์พัฒนาครอบครัวในชุมชน (ศพค.) องค์กรที่ใกล้ชิดกับบุคคลในครอบครัวมากที่สุดและบุคลากรประจำศูนย์พัฒนาครอบครัวใน ชุมชน(ศพค.) จะต้องเป็นบุคคลที่มีความรู้ในเรื่องการดำเนินชีวิตในครอบครัว จึงควรกำหนดให้มีการ จัดอบรม ให้ความรู้ ความเข้าใจ คำปรึกษาแนะนำเรื่องการดำเนินชีวิตในครอบครัว เพื่อเป็นแนวทาง ในการควบคุมและป้องกันความรุนแรงในครอบครัวที่จะเกิดขึ้น หากครอบครัวที่ได้รับการอบรม ได้รับ คำปรึกษาและคำแนะนำที่ดี และนำสิ่งได้เรียนรู้ไปประพฤติปฏิบัติตนให้เป็นแบบอย่างกับบุคคลใน ครอบครัวและบุคคลในสังคมรอบข้าง ย่อมส่งผลให้คนรอบข้างประพฤติตนเลียนแบบในสิ่งที่เป็น แบบอย่าง ซึ่งหากมีตัวแบบที่ประพฤติปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดี ย่อมเป็นเหตุในการลดความรุนแรง ที่จะเกิดขึ้นในครอบครัวในอนาคตได้ ตามทฤษฎีจิตวิเคราะห์ และหากในกรณีที่มีความรุนแรงใน ครอบครัวเกิดขึ้น ควรแก้ไขปัญหาความรุนแรงในครอบครัวโดยการนำวิธีการระงับข้อพิพาททางเลือก มาใช้บังคับแทนการดำเนินคดีอาญากันภายในครอบครัว เนื่องจากปัญหาภายในครอบครัวถือเป็นเรื่องที่มีความละเอียดอ่อน การแก้ไขปัญหาใด ๆ ควรมีการนำกระบวนยุติธรรมเชิงสมานฉันท์มาใช้ เพื่อให้ครอบครัวกลับมาปรองดองซึ่งกันและกัน การไกล่เกลี่ยหรือการประนอม จึงเป็นวิธีการที่เหมาะสมสำหรับการแก้ไขปัญหาเมื่อมีความรุนแรงใน ครอบครัวเกิดขึ้น โดยการไกล่เกลี่ยหรือการประนอม คือ กระบวนการยุติหรือระงับข้อพิพาทด้วย

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3