2566-1 นางสาวพิชญ์สินี ใหม่คง-วิทยานิพนธ์

129 ความตกลงยินยอมของคู่ความเอง โดยที่มีบุคคลที่สามคือผู้ไกล่เกลี่ยมาเป็นคนกลางคอยช่วยเหลือ แนะนำ เสนอแนะหาทางออกในการยุติ หรือระงับข้อพิพาทให้คู่ความต่อรองกันไ ด้สำเร็จ เป็น กระบวนการหนึ่ง ที่สนับสนุนและสร้างบรรยากาศฉันท์มิตร รวดเร็ว รักษาความสัมพันธ์และความลับ ของคู่กรณี บุคลากรประจำศูนย์พัฒนาครอบครัวในชุมชน(ศพค.) จึงควรมีหน้าที่ในการจัดการอบรม ให้ความรู้ ความเข้าใจ คำปรึกษาแนะนำและไกล่เกลี่ยประนีประนอม เรื่องปัญหาเกี่ยวกับครอบครัวที่ เกิดขึ้นในสังคม เพื่อให้มีการควบคุม ป้องกัน และแก้ไขปัญหาความรุนแรงในครอบครัว (4) จัดหาที่พักอาศัยชั่วคราว ให้แก่ผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัว ที่ประสงค์ขอ ที่พักอาศัยชั่วคราว ในประเทศไทยมีหน่วยงานที่ให้การดูแลคุ้มครองเด็กและครอบครัวที่ประสบปัญหาใน ด้านที่อยู่อาศัย นั่นคือ บ้านพักเด็กและครอบครัว ทำหน้าที่เป็นสถานแรกรับตามพระราชบัญญัติ คุ้มครองเด็ก พ.ศ. 2546 และเป็นสถานรับตัวชั่วคราวตามกฎหมาย 3 ฉบับ ได้แก่ พระราชบัญญัติ ป้องกันและปราบปรามการค้าประเวณี พ.ศ. 2539 พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ถูกกระทำด้วยความ รุนแรงในครอบครัว พ.ศ. 2550 และพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ พ.ศ. 2551 ซึ่งมีหน้าที่ให้ที่พักพิงชั่วคราวสำหรับกลุ่มเป้าหมายที่ประสบปัญหา ให้การช่วยเหลือคุ้มครองสวัสดิ ภาพ และจัดสวัสดิการสังคมให้กับทุกกลุ่มเป้าหมาย พัฒนากระบวนการคุ้มครอง เยียวยา ฟื้นฟู กลุ่มเป้าหมาย เป็นศูนย์รับแจ้ง เรื่องราวข่าวสาร และให้คำปรึกษาแนะนำตลอด 24 ชั่วโมง โดยบ้านพักเด็กและครอบครัว ตั้งอยู่ในทุกจังหวัดของประเทศไทย ฉะนั้นเมื่อมีเหตุการณ์ความรุนแรง ในครอบครัวเกิดขึ้น หากผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัวต้องการที่อยู่อาศัย เพื่อพักพิง ชั่วคราว และบุคลากรประจำศูนย์พัฒนาครอบครัวในชุมชน(ศพค.) พิจารณาแล้วว่าเห็นควรให้บุคคล ดังกล่าวมีที่พักอาศัยเป็นการชั่วคราว จึงเป็นหน้าที่ของบุคลากรประจำศูนย์พัฒนาครอบครัวในชุมชน (ศพค.) ในการจัดหาที่พัก ให้แก่ผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัว เพื่อความปลอดภัยในชีวิต บุคคลนั้น ๆ จนกว่าจะเชื่อได้ว่าหากผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัวออกไปจากที่พักอาศัย ชั่วคราวจะมีความปลอดภัยชีวิต (5) ดำเนินการกำกับ ติดตาม ดูแล บุคคลในครอบครัวและผู้อยู่ภายใต้บังคับคำสั่งคุ้มครอง สวัสดิภาพของศาลให้ปฏิบัติตามคำสั่งหรือเงื่อนไขที่ศาลกำหนด พร้อมทั้งรายงานพฤติกรรมต่อศาลที่ ออกคำสั่ง ตามมาตรา 33 เมื่อมีความรุนแรงในครอบครัวเกิดขึ้น ตามเจตนารมณ์ของพระราชบัญญัติส่งเสริมการ พัฒนาและคุ้มครองสถาบันครอบครัว พ.ศ. 2562 มุ่งใช้วิธีการแก้ปัญหาโดยการนำกระบวนการ ยุติธรรมเชิงสมานฉันท์มาใช้บังคับแทนการดำเนินคดีทางกระบวนการอาญา โดยการเสริมสร้าง ความสัมพันธ์ที่ดีแก่บุคคลในครอบครัว และกำหนดมาตรการในการส่งเสริม พัฒนาและคุ้มครอง สถาบันครอบครัว เพื่อให้การป้องกันและแก้ไขปัญหาความรุนแรงในครอบครัวเป็นไปอย่างมี

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3