2566-1 นางสาวพิชญ์สินี ใหม่คง-วิทยานิพนธ์

133 รวมทั้งให้ส่งเอกสารหรือหลักฐานอื่นใด เพื่อประกอบการพิจารณาดำเนินการคุ้มครอง สวัสดิภาพ ตรวจสอบ ประเมินสภาพปัญหาที่เกิดขึ้น รวบรวมข้อเท็จจริงและสาเหตุเกี่ยวกับการ กระทำความรุนแรงในครอบครัว รายงานความเห็นหรือผลการตรวจของผู้ประกอบวิชาชีพซึ่ง เกี่ยวข้อง และสรุปประมวลผล เพื่อให้หัวหน้าศูนย์พิจารณาออกคำสั่งคุ้มครองสวัสดิภาพ หรือเสนอ ต่อศาลเพื่อพิจารณาออกคำสั่งคุ้มครองสวัสดิภาพ ดำเนินการให้ผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงใน ครอบครัวได้รับการช่วยเหลือและความคุ้มครองในเบื้องต้นเป็นการชั่วคราว ได้เข้ารับการตรวจรักษา ตามมาตรฐานทางการแพทย์ ได้รับคำปรึกษาแนะนำจากจิตแพทย์ นักจิตวิทยา นักสังคมสงเคราะห์ ตลอดจนได้รับการเยียวยา บำบัดฟื้นฟู หรือการช่วยเหลืออื่นใดตามความเหมาะสม ประสานงานกับ เจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครองหรือตำรวจ เจ้าหน้าที่ของสถานพยาบาล หรือพนักงานเจ้าหน้าที่ตามกฎหมาย อื่นที่เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองสวัสดิภาพ ค้นเคหสถานหรือสถานที่เกิดเหตุเพื่อหาและช่วยเหลือ ผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัว โดยต้องมีหมายค้น เว้นแต่มีเหตุอันควรเชื่อว่า หากเนิ่นช้า กว่าจะเอาหมายค้นมาได้ผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัวอาจถูกประทุษร้ายเป็นเหตุให้ได้รับ อันตรายแก่ชีวิตหรือร่างกาย ให้ดำเนินการค้นได้โดยไม่ต้องมีหมายค้น แต่ต้องปฏิบัติตามประมวล กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาว่าด้วยการค้น จัดทำรายงานผลการปฏิบัติหน้าที่เสนอต่อหัวหน้า ศูนย์เมื่อได้ดำเนินการเรื่องใดแล้วเสร็จ และปฏิบัติหน้าที่อื่นใดตามที่ได้รับมอบหมาย และหากมีการ ดำเนินการของพนักงานเจ้าหน้าที่เมื่อพบเห็นหรือได้รับแจ้งเหตุความรุนแรงในครอบครัว จะต้อง ดำเนินการจัดทำหนังสือแจ้งเหตุเข้าไปในเคหสถาน/สถานที่เกิดเหตุเพื่อดำเนินการคุ้มครอง ผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัวตาม และบันทึกรายงานไปยังผู้อำนวยการสำนักงานกิจการ สตรีและสถาบันครอบครัวตาม ตามที่กำหนดไว้ในระเบียบกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคง ของมนุษย์ ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการดำเนินการของพนักงานเจ้าหน้าที่เมื่อพบเห็นหรือได้รับแจ้ง เหตุความรุนแรงในครอบครัว (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2555 (7) กำหนดให้มีบุคลากรประจำศูนย์พัฒนาครอบครัวในชุมชน (ศพค.) ที่เป็นผู้นำทาง ศาสนา เป็นวิทยากร อบรมและแนะนำบุคคลระดับชุมชนในขั้นตอนการใช้ชีวิตให้ห่างไกลความ รุนแรง อย่างน้อยปีงบประมาณละ 1 ครั้ง ประเทศไทย เป็นสังคมที่มีความเป็นพหุวัฒนธรรม การอยู่อาศัยร่วมกันในสังคมไทย ประกอบด้วยบุคคลหลายเชื้อชาติ ศาสนา ประเพณี ความเชื่อ และสิ่งยึดเหนี่ยวจิตใจที่แตกต่างกัน ออกไป ซึ่งจะเห็นได้ชัดเจนในประเทศไทยพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ เป็นสังคมที่มีบุคคลที่นับ ถือศาสนาหลากหลายศาสนามาอาศัยอยู่ร่วมกัน ไม่ว่าจะเป็นศาสนาพุทธ ศาสนาอิสลาม ศาสนา คริสต์ห รือศาสนาซิกข์ เป็ นต้น โดยแต่ละศาสนามีหลักคำสอนของตนที่แต่งต่างกันออกไป แต่อย่างไรก็ตามความประสงค์ของหลักคำสอนทุกศาสนาคือ สอนให้บุคคลทุกคนเป็นคนดี อยู่อาศัย ร่วมกันอย่างสงบสุขและปราศจากควาวมรุนแรงทั้งปวง เพื่อการสร้างความสันติภาพในชุมชน ฉะนั้น

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3