2566-1 นางสาวพิชญ์สินี ใหม่คง-วิทยานิพนธ์
134 การอยู่อาศัยร่วมกันในครอบครัวให้มีความสุขนอกจากการอบรมทางด้านความรู้หรือทฤษฎี หลักแนวคิดต่าง ๆ หลักคำสอนทางศาสนาจากผู้นำศาสนานั้น ๆ ถือเป็นปัจจัยสำคัญที่สร้างความ สันติภาพในครอบครัว เนื่องจาก หลักคำสอนทางศาสนาเป็น เครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจที่มนุษย์ทุกคน เคารพนับถือ เพื่อให้สังคมครอบครัวอยู่อาศัยกันอย่างสงบสุขให้มาที่สุด จึงเห็นควรให้บุคลากรประจำ ศูนย์พัฒนาครอบครัวในชุมชน(ศพค.) ที่เป็นผู้นำทางศาสนา เป็นวิทยากร อบรมและแนะนำบุคคลใน ชุมชนขั้นตอนการใช้ชีวิตให้ห่างไกลความรุนแรง อย่างน้อยปีงบประมาณละ 1 ครั้ง (8) ดำเนินการจัดส่งบุคคลผู้ที่มีความเสี่ยงในการกระทำความรุนแรงในครอบครัว เข้ารับ การบำบัดรักษา ณ โรงพยาบาลใกล้บ้านโดยเร็วที่สุด เพื่อป้องกันปัญหาความรุนแรงที่จะเกิดขึ้นใน อนาคต ในปัจจุบันปัจจัยที่กระตุ้นให้เกิดความรุนแรงในค รอบครัวมากที่สุด คือ ยาเสพติด บันดาลโทสะ หึงหวง สุรา การล่วงละเมิดทางเพศ อาการจิตเภท และจากเกม ตามลำดับ หาก ครอบครัวมียาเสพติดที่แพร่กระจายอยู่มากในชุมชน จะสังเกตเห็นได้ว่าชุมชนนั้น มีการก่อความ รุนแรงในครอบครัวขึ้นในปริมาณมาก ซึ่งบุคลากรประจำศูนย์พัฒนาครอบค รัวในชุมชน(ศพค.) เป็นบุคคลที่มีความใกล้ชิดกับบุคคลในชุมชนนั้น ๆ สามารถสังเกตเห็นและรู้ถึงต้นเหตุของการก่อ ความรุนแรงในครอบครัว เพื่อการสร้างความสันติภาพในชุมชนเมื่อมีบุคคลที่พฤติการณ์ที่อาจ ก่อให้เกิดความรุนแรงในครอบครัวอยู่อาศัยในชุมชน บุคลากรประจำศูนย์พัฒนาครอบครัวในชุมชน (ศพค.) ที่เกี่ยวข้องควรเข้าไปสอบถาม ดูแล แก้ไขพฤติกรรมดังกล่าว หรืออาจส่งบุคคลดังกล่าวเข้ารับ การบำบัดรักษา พฤติกรรมที่มีความเสี่ยงต่อการก่อความรุนแรงในครอบครัว ณ โรงพยาบาลใกล้บ้าน โดยเร็วที่สุด (9) จัดโครงการประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับงานศูนย์พัฒนาครอบครัวในชุมชน(ศพค.) ให้ ประชาชนได้มีความรู้จักอย่างแพร่หลาย ศูนย์พัฒนาครอบครัวในชุมชน(ศพค.) จัดตั้งขึ้นครั้งแรกในปี พ.ศ.2547 จนถึงปัจจุบัน ปีพ.ศ. 2566 นับได้ว่าศูนย์พัฒนาครอบครัวในชุมชน(ศพค.) ก่อตั้งขึ้นมาเป็นระยะเวลา 19 ปี แต่ไม่ได้ เป็นรู้จักของบุคคลในชุมชน และเมื่อมีปัญหาความรุนแรงในครอบครัวเกิดขึ้น ผู้ถูกกระทำด้วยความ รุนแรงในครอบครัวไม่ทราบถึงขั้นตอนในการเข้ารับการช่วย เหลือจากหน่วยงานไม่ว่าจะเป็นภาครัฐ และภาคเอกชนในชุมชน จึงเป็นเหตุให้ความรุนแรงในครอบครัวไม่ได้รับการแก้ไขที่ทันท่วงที อีกทั้ง ศูนย์พัฒนาครอบครัวในชุมชน(ศพค.) จัดตั้งขึ้นมา แต่ขาดบุคลากรที่ปฏิบัติงานประจำศูนย์ เนื่องจาก ไม่มีกฎหมายกำหนดโครงสร้างและอำนาจหน้าที่ของบุคลากรประจำศูนย์พัฒนาครอบครัวในชุมชน (ศพค.) ไว้เป็นระบบที่ชัดเจน ถึงไม่สามารถทำให้ศูนย์พัฒนาครอบครัวในชุมชน(ศพค.) ขับเคลื่อนงาน ตามวัตถุประสงค์ที่จัดตั้งศูนย์พัฒนาครอบครัวในชุมชน(ศพค.) ฉะนั้น เพื่อให้ศูนย์พัฒนาครอบครัวใน ชุมชน(ศพค.) เป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลายในชุมชนทั่วประเทศ การประชาสัมพันธ์ถือเป็นสิ่งสำคัญ
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3