2566-1 นางสาวพิชญ์สินี ใหม่คง-วิทยานิพนธ์
บทที่ 1 บทนํา 1.1 ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา สถาบั นท างสังคม ในปัจจุบันที่ สำคัญแ บ่งอ อกได้ 4 สถาบั น ได้แก่ ส ถาบั นครอ บครั ว สถาบันการศึกษาสถาบันศาสนา และสถาบันอื่น (เมธิรา ไกรนที et al., 2563) สถาบันที่เป็นรากฐาน ของมนุษย์และมีความสำคัญยิ่งของสังคม คือ สถาบันครอบครัว เนื่องจากการเติบโตของมนุษย์ทุกคน เริ่มต้นมาจากสังคมครอบครัว ฉะนั้น สถาบันครอบครัว จึงถือเป็นจุดเริ่มต้นของสถาบันอื่น ๆ ประเทศไทยจำแนกตามโครงสร้างของครอบครัวแบ่งออกเป็นสองประเภท ดังนี้ ประเภทที่หนึ่ง ครอบครัวเดี่ยว คือ ครอบครัวที่ประกอบด้วยบุคคลที่ใช้ชีวิตร่วมกันฉันสามีภริยาอาจมีหรือไม่มีบุตร บิดาหรือมารดาอยู่กับบุตร พี่น้องหรือญาติไม่เกินสองรุ่นใช้ชีวิตอยู่ร่วมกัน และประเภทที่สอง ครอบครัวขยาย คือ ครอบครัวที่ประกอบด้วยบุคคลตั้งแต่สามรุ่นขึ้นไป หรือครอบครัวเดี่ยวสอง ครอบครัวขึ้นไป ที่มีความผูกพันทางสายโลหิตหรือเกี่ยวดองเป็นเครือญาติซึ่งมีความสัมพันธ์ที่เกื้อกูล กันและอาศัยอยู่ในบ้านหรือบริเวณเดียวกัน (กรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว, 2562) ประชากร ในประเทศไทยปัจจุบัน มีความหลากหลายทางเชื้อชาติและศาสนา มีความเป็นพหุวัฒนธรรมมาอยู่ อาศัยร่วมกันในสังคม ส่วนใหญ่ประชากรนิยมอยู่อาศัยกันแบบครอบครัวเดี่ยว ประกอบด้วย บิดา มารดา และบุตรไม่เกินกว่า 5 คน ซึ่งแตกต่างกับในอดีตที่อยู่อาศัยกันแบบครอบครัวขยายที่มีสมาชิก ในครอบครัวเป็นจำนวนมาก ในสังคมปัจจุบันไม่ว่าจะอยู่อาศัยกันแบบครอบครัวเดี่ยวหรือครอบครัว ขยาย ปัญหาเกี่ยวกับความรุนแรงที่เกิดขึ้นในครอบครัวยังคงทวีความรุนแรงเพิ่มขึ้นในทุก ๆ วัน เมื่อเปรียบเทียบสถิตความรุนแรงที่เกิดขึ้นในครอบครัว ข้อมูลจากศูนย์ปฏิบัติการกรมกิจการสตรีและ สถาบันครอบครัว เปิดเผยสถิติความรุนแรงที่เกิดขึ้นในครอบครัวตั้งแต่ปี พ.ศ.2561 จนถึงปี พ.ศ.2565 เป รียบเทียบรายไตรมาส ความรุนแรงในครอบครัวตามปีงบประมาณ 2561-2564 รวมจำนวนทั้งสิ้นจำนวน 6,960 ราย และในไตรมาสที่ 1 ของปีงบประมาณ 2565 รวมจำนวนทั้งสิ้น 667 ราย เมื่อเปรียบเทียบความรุนแรงในครอบครัวที่เกิดขึ้นในระยะเวลา 5 ปี หากคิดเฉพาะไตรมาส ที่ 1 ของปีงบประมาณนั้น ๆ พบว่าไตรมาสที่ 1 ปีงบประมาณ 2565 มีจำนวนความรุนแรงใน ครอบครัวสูงที่สุด คิดเป็นร้อยละ 29 ปีงบประมาณ 2564 คิดเป็นร้อยละ 22 ปีงบประมาณ 2563 คิด เป็นร้อยละ 18 ปีงบประมาณ 2562 คิดเป็นร้อยละ 17 และปีงบประมาณ 2561 คิดเป็นร้อยละ 14 (ศูนย์ปฏิบัติการกรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว, 2565) และจากสถิติความรุนแรงในครอบครัว ปี พ.ศ.2565 ผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัวเป็นเพศหญิงคิดเป็นร้อยละ 81.9 ช่วงอายุที่ ถูกกระทำด้วยความรุนแรงมากที่สุด คือ อายุระหว่าง 36-59 ปี คิดเป็นร้อยละ 36.1 และผู้กระทำ
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3