2566-1 นางสาวพิชญ์สินี ใหม่คง-วิทยานิพนธ์
136 ณ โรงพยาบาลใกล้บ้านโดยเร็วที่สุด เพื่อป้องกันปัญหาความรุนแรงที่จะเกิดขึ้นในอนาคต และให้มี การประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับศูนย์พัฒนาครอบครัวในชุมชน(ศพค.) ให้ประชาชนได้รู้จักอย่างแพร่หลาย อีกทั้งในกรณีพื้นที่สามจังหวัดภาคใต้ประชาชนส่วนใหญ่ในพื้นที่เป็นบุคคลที่นับถือ ศาสนาอิสลาม ซึ่งตามหลักคำสอนของศาสนากำหนดเงื่อนไขในการคุมกำเนิด จึงเป็นเหตุให้ครอบครัว ของประชากรที่นับถือศาสนาอิสลามมีบุตรเป็นจำนวนมาก เมื่ออยู่อาศัยกันเป็นครอบครัวที่มี ประชากรมากขึ้น สิ่งสำคัญในการอยู่ร่วมกัน คือ บุคคลในครอบครัวควรรู้ถึงหน้าที่ของตนและแนว ทางการดำเนินชีวิตอย่างไรให้ปราศจากความรุนแรงในครอบครัว จึงเห็นควรกำหนดให้มีบุคลากร ประจำศูนย์พัฒนาครอบครัวในชุมชน(ศพค.) ที่เป็นผู้นำทางศาสนา หรือผู้เชี่ยวชาญ หรือผู้ที่มี ประสบการณ์ในการอยู่อาศัยในสังคมอย่างสมานฉันท์ เป็นวิทยากรอบรมและแนะนำบุคคลระดับ ชุมชนในขั้นตอนการใช้ชีวิตให้ห่างไกลจากความรุนแรง อย่างน้อยปีงบประมาณละ 1 ครั้ง และเมื่อมี ความรุนแรงในครอบครัวเกิดขึ้นในชุมชน บุคลากรประจำศูนย์พัฒนาครอบครัวในชุมชน(ศพค.) ควรมี อำนาจในการเข้าระงับเหตุได้ทันที เช่นเดียวกับเจ้าพนักงาน ตามประมวลกฎหมายอาญา เพื่อให้ ผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัวได้รับความช่วยเหลืออย่างรวดเร็ว จากการศึกษาแนวคิด ทฤษฎี และกฎหมายที่เกี่ยวข้อง รวมถึงผลการสัมภาษณ์เชิงลึกที่ ได้วิเคราะห์มาโดยลำดับแล้ว เห็นควรให้มีบทบัญญัติตามกฎหมายในการกำหนดขอบเขตอำนาจ หน้าที่ของบุคลากรประจำศูนย์พัฒนาครอบครัวในชุมชน(ศพค.) ให้สอดคล้องกับพระราชบัญญัติ ส่งเสริมการพัฒนาและคุ้มครองสถาบันครอบครัว พ.ศ. 2562 ในการส่งเสริม พัฒนาและคุ้มครอง สถาบันครอบครัว เพื่อควบคุม ป้องกัน และแก้ไขปัญหาความรุนแรงในครอบครัว ซึ่งตามทฤษฎีหน้าที่ นิยม กล่าวว่า บุคคลทุกคนมีหน้าที่ของตนเองในสังคมแต่ละสังคมที่แตกต่างกันออกไป โดยหน้าที่แบ่ง ออกเป็น 2 ประเภท คือ หน้าที่แจ้งและหน้าที่แฝง บุคลากรประจำศูนย์พัฒนาครอบครัวในชุมชน (ศพค.) จะต้องมีหน้าที่ของตนทั้งหน้าที่แจ้งและหน้าที่แฝง เมื่อบุคคลใดปฏิบัติการงานใด ๆ บุคคลนั้น จะต้องมีหน้าที่ในงานนั้น ๆ การกำหนดขอบเขตของอำนาจหน้าที่ตามกฎหมายของบุคลากรประจำ ศูนย์พัฒนาครอบครัวในชุมชน(ศพค.) ถือเป็นหน้าที่แฝงที่ต้องปฏิบัติตาม ซึ่งขอบเขตอำนาจหน้าที่ใน การปฏิบัติงานของบุคลากรประจำศูนย์พัฒนาครอบครัวในชุมชน(ศพค.) ให้สอดคล้องกับเจตนารมณ์ ของพระราชบัญญัติส่งเสริมการพัฒนาและคุ้มครองสถาบันครอบครัว พ.ศ. 2562 ควรประกอบด้วย อำนาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้ (1) ดำเนินการให้เป็นไปตามนโยบาย ยุทธศาสตร์ แผนหลัก แผนงาน มาตรการและ แนวทางในการป้องกันและคุ้มครองผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัว (2) สำรวจข้อมูลเกี่ยวข้องกับบุคคลในครอบครัว ทุกครัวเรือนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่เพื่อ เก็บรวบรวมเป็นฐานข้อมูล
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3