2566-1 นางสาวพิชญ์สินี ใหม่คง-วิทยานิพนธ์
138 (2) สำรวจข้อมูลเกี่ยวข้องกับบุคคลในครอบครัว ทุกครัวเรือนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่เพื่อ เก็บรวบรวมเป็นฐานข้อมูล (3) จัดอบรม ให้ความรู้ ความเข้าใจ คำปรึกษาแนะนำและไกล่เกลี่ยประนีประนอม เรื่องปัญหาเกี่ยวกับครอบครัว (4) จัดหาที่พักอาศัยชั่วคราว ให้แก่ผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัว ที่ ประสงค์ขอที่พักอาศัยชั่วคราว (5) ดำเนินการกำกับ ติดตาม ดูแล บุคคลในครอบครัวและผู้อยู่ภายใต้บังคับคำสั่ง คุ้มครองสวัสดิภาพของศาลให้ปฏิบัติตามคำสั่งหรือเงื่อนไขที่ศาลกำหนด พร้อมทั้งรายงานพฤติกรรม ต่อศาลที่ออกคำสั่ง ตามมาตรา 33 (6) บุคลากรประจำศูนย์พัฒนาครอบครัวในชุมชน(ศพค.) สามารถเข้าระงับเหตุได้ ทันที พร้อมทั้งรายงานพฤติกรรมการฝ่าฝืนต่อศาลได้ตลอด 24 ชั่วโมง (7) กำหนดให้มีบุคลากรประจำศูนย์พัฒนาครอบครัวในชุมชน (ศพค.) ที่เป็นผู้นำ ทางศาสนา เป็นวิทยากร อบรมและแนะนำบุคคลในชุมชนเกี่ยวกับขั้นตอนการใช้ชีวิตให้ห่างไกลความ รุนแรงในครอบครัวอย่างน้อยปีงบประมาณละ 1 ครั้ง (8) ดำเนินการจัดส่งบุคคลผู้ที่มีความเสี่ยงในการกระทำความ รุนแรงในครอบครัว เข้ารับการบำบัดรักษา ณ โรงพยาบาลใกล้บ้านโดย เร็วที่สุด เพื่อป้องกันปัญหาความรุนแรงที่จะ เกิดขึ้นในอนาคต (9) จัดโครงการประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับงานศูนย์พัฒนาครอบครัวในชุมชน(ศพค.) ให้ ประชาชนได้มีความรู้จักอย่างแพร่หลาย” “มาตรา 33 ในกรณีที่ศาลมีคำสั่งคุ้มครองสวัสดิภาพตามมาตรา 29 ศาลอาจมีคำสั่ง ให้ ศูนย์ส่งเสริมและคุ้มครองครอบครัว พนักงานเจ้าหน้าที่ ศูนย์พัฒนาครอบครัวในชุมชน(ศพค.) ติดตามกำกับให้ผู้กระทำความรุนแรงในครอบครัว ปฏิบัติตามคำสั่งและรายงานให้ศาลทราบตาม ระยะเวลาที่เห็นสมควร และจะสั่งให้ผู้กระทำความรุนแรง ในครอบครัว ผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรง ในครอบครัว บุคคลในครอบครัว หรือบุคคลอื่นที่เกี่ยวข้องมาศาล เพื่อสอบถามความเป็นไปหรือการ ปฏิบัติตามคำสั่งศาลก็ได้”
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3