2566-1 นางสาวพิชญ์สินี ใหม่คง-วิทยานิพนธ์

144 (1.5) เจ้าหน้าที่ประจำศูนย์ปฏิบัติการเพื่อป้องกันการกระทำความรุนแรงใน ครอบครัวประจำจังหวัด (1.6) คุณครูประจำโรงเรียน (1.7) ผู้ใหญ่บ้าน (1.8) กำนัน (1.9) เจ้าพนักงานสาธารสุขชุมชน (1.10) แพทย์ตำบล (1.11) อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน(อสม.) (1.12) อาสาสมัครพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์(อพม.) (2) กลุ่มภาคประชาชน (2.1) ผู้นำทางศาสนา (2.2) มูลนิธิ ที่จดทะเบียนในพื้นที่จังหวัดนั้น ๆ (3) ตัวแทนครอบครัวในชุมชน (3.1) เครือข่ายตัวแทนจากประชาชนในชุมชน คณะทำงานจะต้องประกอบด้วยตำแหน่งงานภายในศูนย์พัฒนาครอบครัวระดับชุมชน (ศพค.) ดังนี้ ที่ปรึกษาศูนย์พัฒนาครอบครัวในชุมชน(ศพค.) ประธานคณะทำงานศูนย์พัฒ นา ครอบครัวในชุมชน(ศพค.) รองประธานคณะทำงานศูนย์พัฒนาครอบครัวในชุมชน(ศพค.) เหรัญญิก เลขานุการศูนย์พัฒนาครอบครัวในชุมชน(ศพค.) ผู้ช่วย เลขานุการศูนย์พัฒนาครอบครัวในชุมชน (ศพค.) นายทะเบียน คณะทำงานศูนย์พัฒนาครอบครัวในชุมชน(ศพค.) และคณะทำงานอื่น ๆ ตาม ความเหมาะสมที่คณะทำงานทั้งหมดเห็นสมควร” 1.2) เสนอแนะให้มีการแก้ไข เพิ่มเติม ในประเด็นการกำหนดอำนาจหน้าที่ตามกฎหมาย ของบุคลากรประจำศูนย์พัฒนาครอบครัวในชุมชน(ศพค.) ในการปฏิบัติงานเพื่อให้ผู้ปฏิบัติงานมี ขอบเขตในการทำงานที่ชัดเจนยิ่งขึ้น ในหมวด 4 โดย เพิ่มเติมมาตรา 15/2 แห่งพระราชบัญญัติ ส่งเสริมการพัฒนาและคุ้มครองสถาบันครอบครัว พ.ศ. 2562 ใหม่ไว้ดังนี้ “มาตรา 15/2 บุคลากรประจำศูนย์พัฒนาครอบครัวในชุมชน(ศพค.) มีอำนาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้ (1) ดำเนินการให้เป็นไปตามนโยบาย ยุทธศาสตร์ แผนหลัก แผนงาน มาตรการและ แนวทางในการป้องกันและคุ้มครองผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัว (2) สำรวจข้อมูลเกี่ยวข้องกับบุคคลในครอบครัว ทุกครัวเรือนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่เพื่อเก็บ รวบรวมเป็นฐานข้อมูล

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3