2566-1 นางสาวพิชญ์สินี ใหม่คง-วิทยานิพนธ์
2 ความรุนแรงในครอบครัวเป็นเพศชายคิดเป็นร้อยละ 89.6 ช่วงอายุที่เป็นผู้กระทำความรุนแรงใน ครอบครัว คือ อายุระหว่าง 36-59 ปี คิดเป็นร้อยละ 65.9 (ศูนย์ปฏิบัติการกรมกิจการสตรีและ สถาบันครอบครัว , 2565) โดยเป็นความสัมพันธ์ระหว่างสามีภรรยากัน คิดเป็นร้อยละ 41 (สำนักข่าว ไทย (ออนไลน์), 2564) และเมื่อเกิดความรุนแรงในครอบครัวผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงใน ครอบครัวไม่ดำเนินคดีสูงถึงร้อยละ 77 (เนชั่นทีวี (ออนไลน์), 2564) ข้อมูลสถิติจากศูนย์ปฏิบัติการ สถานการณ์ความรุนแรงในครอบครัว กระท รวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษ ย์ จากผลการสำรวจ พบว่า ความรุนแรงทางด้านร่างกาย คิดเป็นร้อยละ 87 ความรุนแรงทางเพศ คิดเป็นร้อยละ 9 และความรุนแรงทางด้านจิตใจ คิดเป็นร้อยละ 4 ปัจจัยกระตุ้นให้เกิดความรุนแรงใน ครอบครัว ได้แก่ ยาเสพติด คิดเป็นร้อยละ 35 บันดาลโทสะ คิดเป็นร้อยละ 33 หึงหวง คิดเป็น ร้อยละ 25 สุรา คิดเป็นร้อยละ 17 การล่วงละเมิดทางเพศ คิดเป็นร้อยละ 17 อาการจิตเภ ท คิดเป็นร้อยละ 9 และจากเกม คิดเป็นร้อยละ 2 (เอชโฟกัส เจาะลึกระบบสุขภาพ (ออนไลน์), 2563) สถาบันครอบครัวถือเป็นสถาบันที่มีความสำคัญที่สุดของการอยู่ร่วมกันในสังคม เนื่องจากเป็น สถาบันที่บ่มเพาะ ปลูกฝัง นิสัยและลักษณะของบุคคลที่จะต้องอยู่ร่วมกับบุคคลอื่นในสังคม เพราะฉะนั้น จุดเริ่มต้นของสถาบันครอบครัวจะต้องเริ่มต้นจากบุคคลสองคนที่ต้องมีความเข้าใจและ ความพร้อมในเรื่องการอยู่ร่วมกันของครอบครัว จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่รัฐควรส่งเสริม พัฒนาและ คุ้มครองสถาบันครอบครัว โดยเริ่มจากการให้ความรู้ ความเข้าใจ ของการอยู่ร่วมกันภายในครอบครัว เพื่อสร้างความพร้อมให้แก่ประชาชนที่ประสงค์จะอยู่ร่วมกันเป็นครอบครัวทั้งในระดับจังหวัด ระดับอำเภอ ระดับตำบล และระดับชุมชน อย่างทั่วถึงและประชาชนสามารถเข้าถึงง่าย หากทุกคนใน ครอบครัวอยู่ร่วมกันอย่างเข้าใจกันและรู้หน้าที่ของตน จะถือได้ว่าเป็นปัจจัยสำคัญที่จะช่วยลดการ เกิดปัญหาการทะเลาะเบาะแว้งจนนำไปสู่การกระทำความรุนแรงในครอบครัวที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 มาตรา 71 ได้ให้ความสำคัญ ของคำว่า “ครอบครัว” โดยกำหนดหน้าที่ให้รัฐ เสริมสร้างความเข้มแข็งของครอบครัวอันเป็น องค์ประกอบพื้นฐานที่ส ำคัญของสังคม จัดให้ประชาชนมีที่อยู่อาศัยอย่างเหมาะสม ส่งเสริม พัฒนาการสร้างเสริมสุขภาพเพื่อให้ประชาชนมีสุขภาพที่แข็งแรงและมีจิตใจเข้มแข็ง ให้รัฐเล็งเห็นถึง ความสำคัญของการจัดระบบครอบครัว เพื่อลดปัญหาความรุนแรงในครอบครัวและคุ้มครอง ผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัวให้ได้รับความเป็นธรรมจากการกระทำความรุนแรง รัฐจึง ออกกฎหมายคุ้มครองผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครั ว แทนการนำกระบวนการทาง กฎหมายอาญามาบังคับใช้ เพราะปัญหาความรุนแรงในครอบครัวเป็นเรื่องที่มีความละเอียดอ่อน ผู้กระทำความรุนแรงในครอบครัวและผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัว เป็นบุคคลที่มีความ รักใคร่ สนิทสนม ใกล้ชิดกัน การจะนำกระบวนทางกฎหมายอาญามาควบคุม จึงไม่มีความเหมาะสม เนื่องจากกฎหมายอาญามีเจตนารมณ์มุ่งเน้นที่จะลงโทษผู้กระทำความผิด กฎหมายที่เหมาะสมในการ
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3