2566-1 นางสาวพิชญ์สินี ใหม่คง-วิทยานิพนธ์

3 นำมาควบคุม ป้องกันและแก้ไขปัญหาความรุนแรงในครอบครัว จะต้องเป็นกฎหมายที่กำหนดรูปแบบ การแก้ไข บำบัด ฟื้นฟูให้ผู้กระทำความผิดได้มีโอกาสกลับตัว ยับยั้งการกระทำคว ามผิดซ้ำและปกป้อง คุ้มครองผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัวแทนการลงโทษทางอาญา เพื่อให้ครอบครัวกลับมา สมานฉันท์กัน รัฐจึงได้ตราพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัว พ.ศ. 2550 มาควบคุมปัญหาดังกล่าว ภายหลังจากประกาศใช้กฎหมายดังกล่าว สถิติความรุนแรงในครอบครัวมิได้ส่งผลให้ปริมาณ ความรุนแรงในครอบครัวที่เกิดขึ้นมีจำนวนน้อยลง หากรัฐเล็งเห็นว่าการดำเนินคดีในรูปแบบการให้ โอกาสผู้กระทำความรุนแรงโดยการแก้ไข บำบัด ฟื้นฟู เพื่อให้มีโอกาสกลับตัว ยับยั้ง การกระทำ ความผิดซ้ำ มีความเหมาะสมกว่าการดำเนินคดีโด ยใช้กระบวนการทางกฎหมายอาญา เหตุใดปัญหา ดังกล่าวยังอยู่คู่กับสังคมไทยและทวีความรุนแรงเพิ่มขึ้นตลอดเวลา จากเหตุการณ์ความรุนแรงใน ครอบ ครัวที่ เกิดขึ้น สะท้อนให้เห็นถึงกฎหมายที่นำมาแก้ ไขปัญห ายังคงมีข้อบก พร่องแล ะ ไม่สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน ต่อมารัฐจึงได้ตราพระราชบัญญัติส่งเสริมการพัฒนาและคุ้มครอง สถาบันครอบครัว พ.ศ. 2562 ออกมาควบคุมความรุนแรงในครอบครัวแทนพระราชบัญญัติคุ้มครอง ผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัว พ.ศ. 2550 แต่กฎหมายดังกล่าวยังคงมีความบกพร่องใน บางประการและไม่สามารถนำมาบังคับใช้ได้ในปัจจุบัน เนื่องจากไม่มีความพร้อมด้านบุคลากรที่จะ ปฏิบัติงานให้ตรงตามวัตถุประสงค์ของกฎหมาย จึงจำเป็นต้องนำพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ถูกกระทำ ด้วยความรุนแรงในครอบครัว พ .ศ. 2550 มาใช้ควบคุมและคุ้มครองผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงใน ครอบครัวเป็นการชั่วคราว ตามที่กำหนดไว้ในพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติส่งเสริม การพัฒนาและคุ้มครองสถาบันครอบครัว พ.ศ. 2562 จนกว่าจะมีการตราพระราชกฤษฎีกาให้มี การบังคับใช้ พระราชบัญญัติส่งเสริมการพัฒนาและคุ้มครองสถาบันครอบครัว พ.ศ. 2562 ได้กำหนดกลไก การดำเนินงานครอบคลุมหน่วยงานในทุกภาคส่วนที่มีความเกี่ยวข้องกับการบริหารงานด้านครอบครัว แบ่งออกเป็น 3 ระดับ ได้แก่ ระดับที่หนึ่ง กลไกการดำเนินงานระดับชาติ กำหนดให้มีคณะกรรมการ ส่งเสริมการพัฒนาและคุ้มครองสถาบันครอบครัว ระดับที่สอง กลไกการดำเนินงานระดับจังหวัด กำหนดให้มีศูนย์ส่งเสริมและคุ้มครองครอบครัว ได้แก่ ศูนย์ส่งเสริมและคุ้มครองครอบครัวในระดับ จังหวัดและศูนย์ส่งเสริมและคุ้มครองครอบครัวในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร โดยให้สำนักงานพัฒนา สังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดเป็นศูนย์ส่งเสริมและคุ้มครองครอบครัวในระดับจังหวัด และ ให้กรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัวเป็นศูนย์ส่งเสริมและคุ้มครองครอบครัวในเขตพื้นที่ กรุงเทพมหานคร และระดับที่สาม กลไกการการดำเนินงานระดับชุมชน กำหนดให้การดำเนินงานใน การคุ้มครองผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัวในระดับชุมชน เป็นหน้าที่ของศูนย์พัฒนา ครอบครัวในชุมชน(ศพค.) ซึ่งตามพระราชบัญญัติส่งเสริมการพัฒนาและคุ้มครองสถาบันครอบครัว

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3