2566-1 นางสาวพิชญ์สินี ใหม่คง-วิทยานิพนธ์
บทที่ 2 เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง การทบทวนวรรณกรรมและผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้องมีจุดมุ่งหมาย เพื่อศึกษาค้นห า ประมวลผลข้อมูลเกี่ยวกับแนวคิด ทฤษฎี หลักการ และกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับเรื่อง การคุ้มครอง ผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัว เพื่อนำไปสู่การศึกษาวิจัย ให้ได้แนวทางไปสู่การสร้างกลไก ทางกฎหมายเพื่อควบคุม ป้องกันและแก้ไขปัญหาความรุนแรงในครอบครัว ระดับชุมชนที่เกิดขึ้นใน ปัจจุบันและคุ้มครองผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัวให้ได้รับความเป็นธรรม ประกอบด้วย 2.1 แนวคิดเกี่ยวกับความรุนแรง 2.2 แนวคิดเกี่ยวกับครอบครัว 2.3 แนวคิดเกี่ยวกับความรุนแรงในครอบครัว 2.4 ทฤษฎีเกี่ยวกับความรุนแรงในครอบครัว 2.5 นโยบายและแผน 2.6 กฎหมายไทยและกฎหมายต่างประเทศ 2.7 งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง 2.1 แนวคิดเกี่ยวกับความรุนแรง 2.1.1 ความหมายความรุนแรง คำนิยามของคำว่า “ความรุนแรง” มีนักวิชาการให้ความหมายไว้อย่างแพร่หลาย ดังนี้ องค์การอนามัยโลก World Health Organization: WHO (2022) ให้ความหมาย คำว่า “ความรุนแรง” หมายความว่า การกระทำที่เป็นความจงใจใช้กำลังหรืออำนาจทางกายข่มขู่ คุกคาม ทำร้ายตนเอง ผู้อื่น กลุ่มคนหรือสังคม ทำให้เกิดการบาดเจ็บ เสียชีวิต การทำร้ายจิตใจ ยับยั้ง และ ปิดกั้นการเจริญงอกงาม สูญเสีย หรือจำกัดสิทธิบางประการ Mackenzie (1975) นักวิชาการ ชาวอเมริกันให้ความหมาย คำว่า “ความรุนแรง” หมายความว่า เป็นการใช้กำลังทางกายภาพ เพื่อทำให้ผู้อื่นได้รับบาดเจ็บอย่างทรมานหรือเป็นเหตุให้เกิดการทำลายบุคคลหรือทรัพย์สิน โดยการ ใช้กำลังนั้น มักเป็นสาเหตุให้เกิดความบาดเจ็บทางร่างกายหรือเป็นการแทรกแซง เสรีภาพส่วน บุคคลอื่น อีกทั้ง Intarajit & Karinchai (1999) ให้ความหมาย คำว่า “ความรุนแรง” หมายความว่า ความรุนแรงเป็นพฤติกรรมและการกระทำใด ๆ ที่เป็นการละเมิดสิทธิส่วนบุคคล ทั้งทางร่างกาย วาจา จิตใจ และทางเพศ โดยการบังคับขู่เข็ญ ทุบตี เตะต่อย ตลอดจนคุกคาม จำกัด และกีดกั้นสิทธิ เสรีภาพ ทั้งในที่สาธารณะและในการดำเนินชีวิตส่วนตัว ซึ่งเป็นผลหรืออาจจะเป็นผลให้เกิดความทุกข์
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3