2566-1 นางสาวพิชญ์สินี ใหม่คง-วิทยานิพนธ์

10 ทรมานทั้งร่างกายและจิตใจแก่ผู้ถูกกระทำ ส่วนฐาศุกร์ จันทร์ประเสริฐ (2553) ให้ความหมาย คำว่า “ความรุนแรง” หมายความว่า การกระทำการใด ๆ ที่เป็นการล่วงละเมิดสิทธิเสรีภาพของบุคคลอื่น ๆ ทั้งทางร่างกาย วาจา หรือใจ โดยการบังคับ ขู่เข็ญ ทำร้ายร่างกาย การทุบตีแล้วเป็นผลให้ผู้อื่นเกิด ความทุกข์ทรมานทั้งทางร่างกาย จิตใจ และก่อให้เกิดความเสียหายทางทรัพย์สินทั้งของตนเองและ ผู้อื่น และจิตฤดี วีระเวสส์ (2550) ให้ความหมาย คำว่า “ความรุนแรง” หมายความว่า การที่ฝ่ายหนึ่ง ใช้กำลังอำนาจเข้าทำร้ายอีกฝ่ายหนึ่ง อันมีผลกระทบต่อร่างกาย เป็นสำคัญ รวมถึงการทำร้ายกัน ทางจิตใจและอารมณ์ของอีกฝ่ายหนึ่งด้วย จากความหมายของความรุนแรงดังกล่าวข้างต้นสรุปได้ว่า ความรุนแรง เป็นการกระทำที่ อาจเกิดขึ้นได้หลายรูปแบ บ ไม่ว่าจะเป็นความรุนแรงทางธรรมชาติ ความรุนแรงทางสังค ม ความรุนแรงต่อบุคคล จากคำนิยามข้างต้น สามารถสรุปการให้คำนิยามของคำว่า ความรุนแรง หมายความว่า การกระทำที่บุคคลหนึ่ง กระทำการใด ๆ โดยใช้กำลังทางกาย อาวุธ เครื่องมือ หรือใช้ พฤติกรรมต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นการบังคับ ขู่เข็ญ ด่าทอ ดูหมิ่น หมิ่นประมาท กักขัง ทำร้ายร่างกาย ทำร้ายจิตใจ ทำให้เสียหายต่อตนเองหรือบุคคลอื่น โดยเจตนาเพื่อให้ตนเองหรือบุคคลอื่นได้รับความ ทุกข์ทรมาน ความเจ็บปวด ความเสียหายต่อจิตใจ ชีวิต ร่างกาย อนามัย เสรีภาพ ทรัพย์สินหรือสิทธิ ของบุคคลอื่นซึ่งการกระทำความรุนแรงเป็นการกระทำที่เกิดขึ้นได้จากสาเหตุหลายปัจจัย อ าทิ สภาพแวดล้อม การพนัน สุรา ยาเสพติด ความเครียดจากเศรษฐกิจการไม่เข้าใจซึ่งกันและกัน การทะเลาะเบาะแว้ง เป็นต้น ส่งผลให้ตนเอง คนรอบข้างและสังคมรอบตัว ได้รับผลกระทบจากการ กระทำความรุนแรงที่เกิดขึ้นและการกระทำความรุนแรง ถือเป็นการกระทำที่กระทำละเมิดต่อบุคคล อื่น ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 420 ด้วยเช่นกัน 2.1.2 ประเภทความรุนแรง การจำแนกประเภทความรุนแรง มีนักวิชาการให้ความหมายไว้อย่างแพร่หลาย ดังนี้ องค์การอนามัยโลก World Health Organization : WHO (2022) แบ่งประเภทความ รุนแรงออกเป็น 3 ประเภท ดังนี้ ประเภทที่หนึ่งความรุนแรงต่อตนเอง หมาย ความว่า ลักษณะความ รุนแรงที่เกิดจากการที่บุคคลกระทำต่อตนเองแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่ พฤติกรรมฆ่าตัวตายและ พฤติกรรมทำร้ายตัวเอง ประเภทที่สองความรุนแรงระหว่างบุคคล หมาย ความว่า ความรุนแรงที่ กระทำโดยบุคคลอื่น หรือกลุ่มบุคคลอื่น แบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่ ความรุนแรงในครอบครัว หรือคู่ครอง และความรุนแรงในชุมชน ประเภทที่สามความรุนแรงระดับกลุ่ม หมายความว่า ความรุนแรงที่กระทำโดยกลุ่มบุคคล แบ่งออกเป็น 3 ประเภท ได้แก่ ความรุนแรงทางสังคม ความรุนแรงทางการเมือง และความรุนแรงทางเศรษฐกิจ ส่วนประเวช ตันติพิวัฒนสกุล (2546) แบ่งประเภทของความรุนแรงได้เป็น 3 ประเภท ได้แก่ 1.ความรุนแรงที่มีต่อตนเอง ได้แก่ การทำร้าย ตนเอง การฆ่าตัวตาย 2.ความรุนแรงที่กระทำต่อบุคคลอื่นทั้งบุคคลใกล้ชิด เช่น สมาชิกในครอบครัว

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3