2566-1 นางสาวพิชญ์สินี ใหม่คง-วิทยานิพนธ์

11 เพื่อนบ้านญาติ เพื่อนร่วมชั้นเรียน เพื่อนร่วมโรงเรียน ครู รวมทั้งบุคคลที่ไม่คุ้นเคย และ3.ความ รุนแรงที่ก่อขึ้นโดยกลุ่มบุคคลหรือมวลชน เช่น การก่อจลาจล การประท้วง และอุษา ภัติศิริ (2559) แบ่งประเภท ของความ รุนแรงเป็ นกลุ่ มใหญ่ได้ 3 ประเภท ได้แก่ 1.ความ รุนแรงต่อตน เอ ง หมายความว่า ความตั้งใจและพฤติกรรมที่จะเป็นอันตรายต่อตนเองซึ่งอาจนำไปสู่การฆ่าตัวตาย 2.ความรุนแรงระหว่างบุคคล เป็นความรุนแรงที่บุคคลหนึ่งกระทำต่ออีกบุคคลหนึ่ง อาจเรียกว่า “ผู้คุกคามกับเหยื่อ” หรือ “ผู้กระทำกับผู้ถูกกระทำ” ความรุนแรงในกลุ่มนี้เป็นปัญหาใหญ่ในสังคม พฤติกรรมความรุนแรงระหว่างบุคคล ได้แก่ 2.1 การทำร้ายร่างกาย เป็นการทำร้ายกันโดยใช้กำลัง เช่น ตบ ตี เตะ ต่อย รวมถึงการใช้อาวุธจนได้รับบาดเจ็บ และฆาตกรรม 2.2 การทำร้ายจิตใจ เป็นการทำร้ายโดยการใช้คำพูด หรือภาษาพูดที่หย าบคาย ดูถูก เหยียมหยาม การกระทำดังกล่าวมี ผลทางด้านจิตใจ 2.3 การใช้ความรุนแรงด้านสังคม หมาย ความว่า การปล่อยปละละเลย ไม่ให้ ความสำคัญ หรือความสนใจ การขัดขวางความก้าวหน้า การจำกัดสิทธิทางสังคม 2.4 การใช้ความ รุนแรงด้านเศรษฐกิจ เป็นการควบคุมและยึดครองทรัพย์สินต่าง ๆ รวมถึงการจำกัดค่าใช้จ่าย 2.5 การกระทำทารุณกรรมทางเพศ เช่น การข่มขืน การกระทำอนาจารที่ทำให้เกิดความเสื่อมเสีย และ3.ความรุนแรงเชิงระบบ หมาย ความว่า การกระทำรุนแรงของกลุ่มทางสังคม หรือกลุ่มการเมือง ซึ่งมีวัตถุประสงค์ทางสังคม เศรษฐกิจ และการเมือง อยู่เบื้องหลัง เช่น การสู้รบ สงคราม ความขัดแย้ง ทาง เชื้อชาติ ศาสนา ระหว่างกลุ่มคน อีกทั้งจุฑารัตน์ เอื้ออํานวย และคณะ (2555) ได้ให้ความหมายของประเภทของความ รุนแรง แบ่งออกได้ 3 ประเภท ได้แก่ 1. ความรุนแรงทางตรง (direct violence) เป็นปรากฏการณ์ ที่เห็นได้ชัดเจนและคนทั่วไปน่าจะเห็นพ้องต้องกันว่าเป็นความรุนแรง เพราะมีร่องรอยปรากฏให้เห็น บนร่างกายของมนุษย์ในรูปของบาดแผล เลือดเนื้อ และการสูญเสียชีวิต รวมทั้งความเสียหายต่อวัตถุ และทรัพย์สินข องผู้คน 2. ค วามรุนแ รงเชิงโค รงสร้าง ( structural violence) หม ายค วาม ว่า โครงสร้างที่ทำให้เกิดความได้เปรียบ เสียเปรียบระหว่างคนที่มีตำแหน่งที่แตกต่างกันในโครงสร้างนั้น ผู้ที่มีอำนาจมากกว่าเอารัดเอาเปรียบผู้ที่มีอำนาจน้อยกว่าในกระบวนการปฏิสัมพันธ์และแลกเปลี่ยน ระหว่างกัน ความไม่เท่าเทียมกันในการแลกเปลี่ยนกระทบ ความอยู่รอดและความเป็นอยู่ของ ผู้ที่เสียเปรียบในโครงสร้าง ทำให้คนเหล่านี้ต้องทนทุกข์ทรมานจากความยากจน แร้นแค้น และความ อดอยากขาดแคลนอาหาร ยารักษาโรคและบริการด้านสุขภาพ นอกจากผลกระทบทางร่างกายแล้ว ความรุนแรงเชิงโครงสร้างยังมีผลต่อจิตใจและจิตวิญญาณของผู้คนในสังคม และ 3.ความรุนแรงเชิง วัฒนธรรม เป็นระบบความเชื่อที่คนในสังคมต้องยอมรับได้ หรือยอมรับวัฒนธรรมในฐานะที่เป็นกรอบ ความหมายที่คนใช้ในการทำความเข้าใจตนเองและชีวิตทางสังคม วัฒนธรรม ให้ความชอบธรรมกับ ความรุนแรงหลายรูปแบบ ทำให้ปรากฏการณ์ที่เป็นความรุนแรงทางตรงและความรุนแรงเชิง โครงสร้างกลายเป็นเรื่องยอมรับได้หรือเป็นเรื่องถูกต้อง หลายสิ่งหลายอย่างที่ทำให้เกิดความทุกข์ยาก

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3