2566-1 นางสาวพิชญ์สินี ใหม่คง-วิทยานิพนธ์

14 ครอบครัวเป็นหน่วยย่อยและเป็นแกนหลักของสังคม มนุษย์ทุกคนเกิดมาสังคมแรกที่ใช้ ชีวิตอยู่ร่วมกัน คือ สังคมครอบครัว จึงถือได้ว่าเป็นสังคมที่สำคัญที่สุดในการขับเคลื่อนประเทศ เนื่องจากในประเทศไทยมีบุคคลที่เติบโตมาจากครอบครัวที่ได้รับการเลี้ยงดูอย่างคล้ายคลึงกัน การขับเคลื่อนของประเทศมีความน่าจะเป็นสูงที่จะขับเคลื่อนไปในทิศทางเดียวกัน พจนานุกรมฉบับ ราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554 ครอบครัว หมายความว่า ผู้ร่วมครัวเรือน คือ สามี ภรรยาและบุตร เป็นต้น กรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว (2559) ครอบครัว หมายความว่า บุคคลตั้งแต่ 2 คน ขึ้นไปที่ใช้ชีวิตร่วมกัน โดยมีความผูกพันทางสายโลหิต ทางกฎหมาย ทางจิตใจ หรือทางสังคม ซึ่งสมาชิกในครอบครัวต่างมีบทบาทหน้าที่ต่อกันและมีความสัมพันธ์ที่เกื้อกูลกัน ส่วนศูนย์วิจัยและ พัฒนาครอบครัวไทย (2553) ครอบครัว หมายความว่า บุคคลตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป และมีความเกี่ยวข้อง สัมพันธ์กันโดยการเกิด การแต่งงาน หรือการรับเป็นบุตรบุญธรรม และอาศัยอยู่ร่วมกันในบ้านเรือน หรือที่พักอาศัย เดียวกัน หรืออาจแยกกันอยู่ชั่วคราว ตามความจําเป็นในด้านการศึกษาหรือการงาน อาชีพแต่ยังคงมีปฏิสัมพันธ์ต่อกัน อย่างต่อเนื่อง ประสบ บุญเดช (2565) ครอบครัว หมายความว่า ครอบครัวเป็นหน่วยงานย่อยพื้นฐาน ของสังคมโดยปกติมักประกอบด้วย สามี ภรรยา และบุตร ฐานะการเป็นครอบครัวเริ่มขึ้นเมื่อชายและ หญิงได้ทำการสมรสกัน และดำเนินต่อไปจนกระทั่งเกิดบุตรคนแรก คนที่สองและคนถัด ๆ ไป ครอบครัวบางครอบครัวอาจไม่มีบุตรตลอดชีวิตของสามีภริยาก็ได้ และในทำนองเดียวกันครอบครัว บางครอบครัวก็มีเพียงบิดา หรือมารดากับบุตรเท่านั้น ซึ่งอาจเกิดขึ้นเพราะสามีหรือภริยาฝ่ายใดฝ่าย หนึ่งถึงแก่ความตายหรือหย่าร้างเลิกรากันไป จากคำนิยามของคำว่า ครอบครัว ข้างต้น มีความหมายที่สอดคล้องไปในทิศทางเดียวกัน สามารถสรุป คำนิยามของคำว่า ครอบครัว ให้เหมาะสมกับสถานการณ์ปัจจุบัน ได้ว่าครอบครัว หมายความว่า บุคคลตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป มาอยู่อาศัยร่วมกัน โดยไม่กำหนดเพศที่จะต้องเป็นเพศสภาพ ตรงข้ามกันและไม่จำต้องจดทะเบียนสมรส เพียงแค่มีเจตนาอยู่อาศัยร่วมกัน ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน และมีความรักใคร่ปรองดองกัน อาจจะมีบุตรด้วยหรือไม่ก็ได้ รวมถึงบุคคลที่ไม่มีความเกี่ยวพันธ์กัน ทางสายโลหิต อย่างเช่น คนรับใช้ คนขับรถ คนตัดหญ้า ที่อาศัยอยู่ในที่อยู่อาศัยเดียวกันตลอดเวลา 2.2.2 ประเภทครอบครัว ประชากรในประเทศไทยในปัจจุบันมีปริมาณประชากรจำนวนมาก ส่งผลให้สังคม ครอบครัวมีความหลากหลายรูปแบบ และมีนักวิชาการหลายท่านได้จำแนกประเภทครอบครัว แตกต่างกันออกไป ดังนี้ พูนสุข ช่วยทอง (2548) ครอบครัวแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ ครอบครัว เดี่ยวและครอบครัวขยาย ดังนี้ หนึ่งครอบครัวเดี่ยว หมายความว่า ครอบครัวที่มีโครงสร้างของสมาชิก ครอบ ครัวที่ ประกอบด้วย พ่อ แม่ และลูก ที่ใช้ชีวิตอยู่ร่วมกันทั้ งด้านสังคมและเศรษ ฐกิ จ มีปฏิสัมพันธ์ดูแลซึ่งกันและกัน และสองครอบครัวขยาย หมายความว่า ครอบครัวที่มีโครงสร้างของ

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3